สมุนไพรอบไอน้ำ

 สมุนไพรอบไอน้ำ                            

 THAI  AROMATHERAPY  HERBAL  SAUNA                

 การอบไอน้ำ   ในทฤษฏีอายุรเวทของอินเดีย  ถือว่า  การอบสมุนไพรเป็นหนึ่งในกรรมวิธีที่เรียกว่า  สเวทนะ (SWEDANA)  คำว่า  “สเวทนะ”  แปลว่าเหงื่อ  อันเป็นนัยว่าเมื่อผ่านกรรมวิธีนี้แล้วจะทำให้เหงื่อออก  จุดมุ่งหมายหลักของการสเวทนะนั่นก็เพื่อทำให้ช่อง (สโรทะ SAROTA)  ต่างๆ ในร่างกายขยายตัว  ซึ่งจะทำให้การไหลเวียนของของเหลวของกระแสประสาทไหลเวียนได้คล่อง  ไม่ติดขัด  หรือเลือดลมเดินสะดวกนั่นเอง    สาเหตุที่ต้องทำให้ช่องต่างๆ ในร่างกายขยายตัว  ก็เพราะว่าบ่อยครั้งที่ช่องต่างๆ ในร่างกายของเราหดแคบ  ติดขัด  ซึ่งมักเกิดจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม  ทำให้อาหารย่อยไม่ดี  ร่างกายไม่สามารถดูดซับสารอาหารไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้  สารอาหารเหล่านี้ก็ไปสะสมอุดตันอยู่ตามส่วนต่างๆ เช่น                 

1. อุดตันที่ระบบทางเดินหายใจ  จะเป็นอาการหอบหืด  เพราะช่องหายใจตีบตัน  หรือไม่ก็เป็นหวัด  น้ำมูกไหล                                                               

2.  อุดตันที่ตามข้อต่อต่างๆ ทำให้เกิดการปวดข้อ  ข้ออักเสบ               

3.  อุดตันที่ตามรูขุมขนที่อยู่ตามผิวหนัง  ทำให้เป็นไข้  เพราะความร้อนถูกกักไว้ภายในร่างกาย  ตัวก็เลยร้อน  เป็นไข้

 ใช้ความร้อนเข้าช่วย

 เป็นวิธีแก้ที่ทำให้ช่องที่อุดตันเหล่านั้นขยาย  ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดคือ  ใช้ความร้อนเข้าช่วย  พอร่างกายถูกความร้อนช่องที่เคยติดขัดก็ขยายตัว  รวมถึงรูขุมขนบนผิวหนังด้วย  และเมื่อร่างกายร้อนขึ้นก็ระบายความร้อนออกมาทางรูขุมขนที่เปิดกว้างเหงื่อก็ออกมา  สารที่อุดตันอยู่ตามร่างกายก็ถูกสลายขับออกมาพร้อมกับเหงื่อ  สังเกตว่า  พออบสมุนไพรได้ที่ดีแล้วร่างกายจะเบาสบายหายใจโล่ง  ในปัจจุบันคนไทยสนใจการอบสมุนไพรกันมากขึ้น    โดยการนำสมุนไพรที่มีสรรพคุณต่างๆ ที่รักษาโรคนั้นๆ มาต้ม  แล้วสูดดมกลิ่นของสมุนไพรพร้อมจากความร้อนของไอน้ำที่อบอวลในตู้  จะทำให้ร่างกายเบาสบาย  เนื่องจากร่างกายสามารถขับพิษออกมาทางรูขุมขนพร้อมกับเหงื่อ  ช่วยในการไหลเวียนของโลหิตและน้ำเหลืองดีขึ้น  ซึ่งจะทำให้ผิวพรรณผ่องใสรูขุมขนละเอียดขึ้น  ผิวกายสะอาดเมื่ออากาศร้อนจะไม่เหนียวตัว  กลิ่นกายหอมสะอาดทั้งวัน

 สมุนไพรที่นำมาใช้                                                                   

สมุนไพรที่นำมาใช้อบนั้นมีมากมายหลายชนิด  แล้วแต่วัตถุประสงค์ของการอบที่เราต้องการ  เช่น  การอบไอน้ำเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อหรือล้างพิษที่ผิวหนังเพื่อลดอาการคัน  หรือล้างสารเคมีที่มีอยู่ในร่างกายออกทางผิวหนัง  หรือเพียงเพื่อต้องการให้ผิวพรรณผ่องใส  ละเอียดเรียบเนียน  ไร้รูขุมขน  ก็จำเป็นต้องเลือกสมุนไพรตามสรรพคุณนั้นๆ ซึ่งอาจจะเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของพืช  เช่น  ราก  ลำต้น  ใบ  ดอก ผล และเมล็ดแบ่งแยกประเภทของสมุนไพรได้เป็น  4  ประเภท  ดังนี้คือ

 1.  สมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย  เมื่อได้รับความร้อน  น้ำมันหอมระเหย จะระเหยออกมา  มีกลิ่นหอม  เช่น  ไพล  ขมิ้นชัน  ขมิ้นอ้อย  ข่า  กระชาย  ว่านน้ำ  ขิง  ตะไคร้  ใบกระเพรา  ใบส้มโอ  ใบหนาด  ใบมะนาว  ดอกมะลิ  ดอกกระดังงา  สมุนไพรกลุ่มนี้มีฤทธิ์ทำให้จมูกโล่ง  ขยายหลอดลมฆ่าเชื้อโรคบางชนิดได้  และคลายกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น  ทำให้หาย ปวดเมื่อย รักษาผดผื่นคัน   และอาการแพ้ทางผิวหนังได้ดี                                                                                                        

2.  สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว  ทำให้น้ำที่ต้มออกมามีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ได้แก่  ใบมะขาม  ใบส้ม  ข่อย  ผลมะกรูด  ผลมะนาว  มีฤทธิ์ช่วยชำระสิ่งสกปรกออกจากผิวหนัง  ทำให้ผิวหนังสะอาด  (Detox) เห็นการล้างพิษที่ผิวหนังได้ดีมาก  และทำให้ผิวหนังเรียบเนียน  รูขุมขนละเอียด         

3. สมุนไพรที่มีสารหอมระเหย  เมื่อถูกความร้อนจะระเหยออกมา  มีกลิ่นหอมได้แก่  การบูร  พิมเสน  มีฤทธิ์ช่วยบำรุงหัวใจ และรักษาโรคผิวหนังได้  เพราะพิมเสนมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคได้                                                                                                                     

4.  สมุนไพรที่รักษาเฉพาะโรค  การรักษาโรคหวัด  โรคแพ้อากาศ  ใช้เปราะหอม  มะกรูด  หนุมานประสานกาย  สะระแหน่  ขิง       หัวหอม  ผักบุ้ง 

 การรักษาโรคผิวหนัง                                                                                

ใช้ทองพันชั่ง  ชุมเห็ดเทศ  ดอกมะนาว  เหงือกปลาหมด  ขี้เหล็กป่า

 การรักษาโรคปวดเมื่อย                                                                                  

ใช้ไพล  เถาโคคลาน  เถาวัลย์เปรียง  ตะไคร้หอม  ผักเสี้ยนผี  เถาเอ็นอ่อน  หนุมานประสานกาย

  วิธีการอบไอน้ำ                                         

  1.  นำสมุนไพรสูตรที่ต้องการใส่หม้อต้มพอประมาณ (50 กรัม) ใส่น้ำพอท่วมแล้วต้มให้เดือด  วางในตู้อบหรือกระโจม แง้มฝาหม้อเพื่อให้ไอน้ำออกมาอบอวลในตู้หรือกระโจม                                                                     

2.  ในขณะอบถ้ารู้สึกแน่น  อึดอัด  หายใจไม่สะดวกควรหยุดทันที !                                   

3.  ผู้อบควรใส่เสื้อผ้าให้น้อยชิ้น  ทำการอบำจนวน 2 ครั้ง  ครั้งละ 15 นาที  กรณีที่ไม่เคยอบไอน้ำมาก่อน  ควรอบ           3  ครั้ง                                                                4.  การอบไอน้ำเมื่อครบ 15 นาที  ให้ออกมาพักข้างนอกตู้อบประมาณ  3-5 นาทีก่อน  แล้วจึงเข้าไปอบใหม่ให้ครบจำนวนครั้งที่ต้องการ (2หรือ3 ครั้ง)

5.  เมื่ออบครบจำนวนครั้งที่ต้องการแล้วต้องนั่งพักให้เหงื่อแห้งประมาณ 3-5 นาทีก่อน แล้วดื่มน้ำ 1 แก้ว โดยไม่ใส่น้ำแข็ง  จากนั้นจึงค่อยอาบน้ำ  จะทำให้ร่างกายสดชื่น         

 ประโยชน์ของการอบสมุนไพร

  1. ช่วยทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น  คลายความตึงเครียด                                     
  2. ช่วยชำระล้างและขับของเสียออกจากร่างกายทางผิวหนัง                                               
  3. ช่วยทำให้ร่างกายขับเหงื่อและขยายรูขุมขน  ผิวหนังสะอาด รูขุมขนละเอียดขึ้น          
  4. ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ  และเส้นเอ็น  บรรเทาอาการปวดเมื่อย                                    
  5. ช่วยทำให้ทางเดินหายใจชุ่มชื้น  และช่วยละลายเสมหะ                                                 
  6. ช่วยลดอาการอักเสบ  และบวมที่เยื่อบุทางเดินหายใจตอนบน                                            
  7. ช่วยลดการระคายเคืองในลำคอ                                                                                              
  8. ช่วยบรรเทาอาการโรคภูมิแพ้                                                                                           
  9. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง  ชนิดไม่ร้ายแรงและไม่ติดเชื้อ                                                     
  10. ช่วยน้ำหนักทางร่างกายลดลงได้ชั่วคราว                                                                    
  11. บรรเทาอาการปวดประจำเดือน  ที่ไม่มีไข้ร่วมและหญิงหลังคลอดบุตร ช่วยให้    มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น
  12. บรรเทาอาการบวม  เหน็บชา  และอาการลมพิษ                                                          
  13. ร่างกายได้มีการขับของเสียออกตามรูขุมขน  ขจัดเซลล์ที่ตายแล้วทิ้งไป  ทำให้  ร่างกายมีการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทน
  14. ระบบโลหิตในร่างกายเกิดการหมุนเวียนดี  ทำให้ผิวพรรณดี  เปล่งปลั่ง                     
  15. ผู้หญิงหลังคลอดบุตร  เมื่ออบไอน้ำแล้วทำให้ร่างกายปรับคืนสู่สภาพเดิมได้เร็วขึ้น  ซึ่งคล้ายกับลักษณะการอยู่ไฟ              

 ข้อควรระวังในการอบสมุนไพร 

  1. ขณะที่ร่างกายมีไข้สูง  หรือหลังฟื้นไข้ใหม่ๆ                                                                
  2. ในขณะอบถ้ารู้สึกแน่น  อึดอัด  หายใจไม่สะดวกควรหยุดทันที !                                 
  3. ควรระวังอย่าให้น้ำร้อนลวกถูกร่างกาย                                                                         
  4. ไม่ควรอบนานเกินไป  เพราะร่างกายจะเสียน้ำและเกลือแร่มากเกินไป                          
  5. ผู้ที่มีโรคประจำตัว  ดังต่อไปนี้ไม่ควรอบ คือ โรคไต โรคปอด โรคลมบ้าหมู ตกเลือด  ท้องเสียอย่างรุนแรง  หอบหืด  โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ                                                                                                              
  6. สตรีขณะมีประจำเดือนในวันแรกๆ ร่วมกับอาการไข้และปวดศีรษะ                             
  7. มีอาการอักเสบจากบาดแผลต่าง ๆ                                                                                  
  8. อ่อนเพลีย  อดนอน  อดอาหาร                                                                                           
  9. ปวดศีรษะ  ชนิดเวียนศีรษะ  คลื่นไส้                                                                            
  10. ความดันโลหิตสูง  มีอาการหน้ามืดวิงเวียนศีรษะ                                                        
  11. หลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่  (ควรรับประทานอาหารก่อนอบครึ่งชั่วโมง)                                                                                                         
  12. เด็กอายุต่ำกว่า  10  ปี                                                                                                
  13. หญิงตั้งครรภ์

 

ข้อแนะนำสำหรับการอบสมุนไพร                                          

 เมื่อมีเหงื่อออกมาก  ถ้าผิวหนังเริ่มมีสีแดง  ร่างกายอบอุ่น  ไม่มีอาการหนาวสั่น  รู้สึกร่างกายเบา  กล้ามเนื้อที่แข็งแกร็งเริ่มคลายลง  แสดงว่าได้รับความร้อนพอเหมาะพอดีแล้ว  ก็ควรจะหยุด  เมื่อไรก็ตามที่เกิดอาการอ่อนเพลีย  ใจสั่น    มึนงง  ร่างกายร้อนมาก  หายใจไม่ออกแสดงว่า  อบนานเกินไป    ร่างกายร้อนเกินไป  วิธีแก้คือ  ต้องลดความร้อนลง  โดยให้น้ำเย็นหรือน้ำหวาน

 

 

 สรรพคุณสมุนไพร          

                 

 ไพล                                                                             

 แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ  เคล็ดขัดยอก  อาการฟกช้ำ เท้าแพลง  อาการครั่นเนื้อครั่นตัว  ทำให้แผลหลังคลอดบุตรหายเร็ว  และมีสรรพคุณขับน้ำนมและแก้โรคหืด  

                      

ขิง                                                                                                                                                     

มีฤทธิ์อุ่น ช่วยกระตุ้นการขับเหงื่อ ไล่ความเย็น ขับลม  แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับเสมหะ                      

 

ข่า                                                                                                                                               

ช่วยขับลม  แก้ท้องอืด  ท้องเฟ้อ  ขับเสมหะ แก้ปวดท้อง แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน                                                                                                       

 

ขมิ้นชัน                                                                                                                                     

น้ำมันหอมระเหยมีสารสำคัญออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียที่ช่วยรักษาโรคผิวหนังโรคทางเดินหายใจ  บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ และช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ แก้อาการปวดตามข้อ ปวดเข่า ช่วยระงับกลิ่นตัว ให้ผิวสวยสะอาด ผ่องใส เรียบเนียน                                                                                                                 

ขมิ้นอ้อย                                                                                                                                      

 เหง้ามีรสฝาดเผื่อน  แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว  ขับปัสสาวะ  แก้ฟกช้ำ  แก้อักเสบ  แก้ลม  รักษาอาการเลือดคั่ง  เลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก  และทำให้ผิวพรรณ ผ่องใส                                                                                                      

 

ว่านนางคำ                                                                                                                                   

เหง้ามีรสฝาดร้อนหอม  แก้ผดฟื่น แก้ฟกช้ำ  ปวดบวม ขับลมในล้ำไส้  แก้ปวดท้อง  และทำให้ผิวพรรณผ่องใส

 

ว่านน้ำ                                                                                                                                                  

เหง้ารสหอมร้อน  แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ  แน่นท้อง จุกเสียด  ขับลมในกระเพาะอาหาร ขับเสมหะ แก้ไอ ระงับประสาท แก้ปวดตามข้อ  แก้ปวดฟัน แก้หวัดและหลอดลม  อักเสบ  แก้หอบหืด  และบำรุงหัวใจ และขับเหงื่อแก้ไข้                    

 

                             

 เปราะหอม                                                                                                                              

เหง้ารสเผ็ดขม  แก้โลหิตซึ่งเจือด้วยลมพิษ ขับลมใสลำไส้ แก้เสมหะเจริญไฟธาตุ  แก้ลงท้อง  รุมศีรษะเด็กแก้หวัด  แก้แพ้อากาศ                                                                        

เปล้าใหญ่                                                                                                                             

ใบรสร้อน  แก้เสมหะ  และลม  บำรุงธาตุ  แก้ผื่นคัน  แก้ลมจุกเสียด  บำรุงกำลัง  รากรสร้อนเมา  แก้โรคผิวหนัง  ผื่นคัน

 

 ตะไคร้บ้าน                                                                                                                               

มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์  เชื้อรา  แก้ปวดเมื่อยตัว  ปวดบวมตามข้อ  แก้ท้องอืด  ท้องเฟ้อ  แน่น  จุกเสียด  ช่วยขับลมในลำไส้  บรรเทาอาการไอ  รักษาอาการอ่อนเพลีย 

 

 

 ตะไคร้หอม                                                                                                                         

ทั้งต้นรสเปรี้ยวร้อนขม  มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย  และเชื้อรา  ขับลมในลำไส้                  

 

ใบส้มป่อย                                                                                                                            

ใบรสเปรี้ยวฝาด  ร้อนเล็กน้อย  มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ช่วยชำระสิ่งสกปรกออกจากผิวหนัง  ทำให้ผิวหนังสะอาด (Detox)  ทำให้ผิวเรียบเนียน  รูขุมขนละเอียด                                                                                                                                                     

ใบเตย                                                                                                                                  

ใบให้รสชุ่มเย็น  บำรุงหัวใจ  รักษาอาการหอบหืด  แก้โรคผิวหนัง                                              

 

ใบมะกรูด                                                                                                                               

ใบมีน้ำมันหอมระเหย  ประกอบด้วย  ซิโทรเนลลาด (Citronelladi) ไอโซพูลิโกล (Isopullegol) ไลนาลูออล (Linalool) ช่วยรักษาอาการจุกเสียดและขับลมในลำไส้

 

ผิวมะกรูด                                                                                                                              

ผิวมะกรูดมีน้ำหอมระเหย  คือ  เบต้าไพนีน (Beta-Pinene) ไลโมนีน (Limonene) ซาบินีน (Sabinene) มีรสเปรี้ยว ชำระสิ่งสกปรกออกจากผิวหนัง  ทำให้ผิวหนังสะอาด (Detox) บำรุงรากผม  ทำให้ผมลื่นเป็นมัน  ไม่เป็นรังแค  ทำให้ผมดกดำ  เป็นเงางาม                        

 

กระชาย                                                                                                                         

เหง้ามีรสเปรี้ยวร้อน  มีฤทธิ์ยั้บยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในลำไส้  ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ  แก้ไอ  บำรุงหัวใจ  กระตุ้นให้หัวใจเต้นสม่ำเสมอ      

 

ใบยูคาลิปตัส                                                                                                                         

ใบมีรสเผ็ดเปรี้ยวหอม  แก้หวัดคัดจมูก  บำรุงธาตุ  ขับลม  ขับเสมหะ  แก้ไข้ แก้ปวด  หรือแก้ฟกช้ำบวม                

 

ผักบุ้งไทย                                                                                                                             

มีรสจืด  แก้อ่อนเพลีย  แก้กลากเกลื้อน  แก้ฟกช้ำ  แก้ถอนพิษยา  เบื่อเมา  ถอนพิษ สัตว์กัด  ต่อย  แก้ตาอักเสบ  บำรุงสายตา                                                                            

 

ตำลึง                                                                                                                                    

ใบมีรสเย็นดับพิษร้อน  ถอนพิษไข้  แก้ไข้ตัวร้อน  ถอนพิษของตำแย  ปวดแสบ  ปวดร้อน  แก้คัน

 

เถาเอ็นอ่อนใบ                                                                                                                    

รสเบื่อเอียน  แก้เมื่อย  แก้ปวดเสียวเส้นเอ็น  แก้ขัดยอก  ทำให้คลายการตึงตัว                     

 

กำลังวัวเถลิง                                                                                                                       

เนื้อและราก  รสมันรัอนติดฝาด  บำรุงโลหิต  บำรุงเส้นเอ็น  แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย  บำรุงกำลัง  บำรุงกระดูกให้แข็งแรง                                                                                 

กำลังเสือโคร่ง                                                                                                                   

รสฝาดติดร้อน  บำรุงกำลัง  ขับลมในลำไส้  บำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง  แก้ปวดเมื่อย  ตามร่างกาย  บำรุงธาตุ

 

หนุมานประสานกาย                                                                                                           

 แก้ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว  แก้อัมพฤกษ์  ทำให้เลือดลมเดินสะดวก                                        

 

ดอกกุหลาบมอญ              

ดอกรสสุขุม  บำรุงหัวใจ  แก้อ่อนเพลีย                                                  

 

เหงือกปลาหมอ    

แก้โรคผิวหนัง  แก้ผื่น                                                            

 

กวาวเครือ    

หัวรสเมาเบื่อ  บำรุงเนื้อหนังให้เต่งตึง  บำรุงสุขภาพให้สมบูรณ์               

 

เถาโคลาน     

แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย  ปวดหลัง  ปวดเอว  เส้นตึง  ขับปัสสาวะ บำรุงโลหิต

 

 

 

 สมุนไพรอบไอน้ำ มี 4 สูตร

100  g   180 Baht

 

1. สูตรผิวสวย

 

2. อบล้างพิษ

 

3. คลายกล้ามเนื้อ

 

4. อบหลังคลอด

 

 

ราคาค้าส่ง (คละสูตร)

1 6 ซอง 10%
12 ซอง 15%
3 24 ซอง 20%
4 36 ซอง 25%

 

 

สอบถามได้ที่

081-9102414   095-3858268  099-6566961

Line @siamorigin

 

Visitors: 159,082