ChaHomPuTonNam
ชาหอมภูต้นน้ำ ..... เสน่หาของสมุนไพรไทย
ตำนานการดื่มชา มีมานานนับพันปี
ชา...เป็นเครื่องดื่มที่ดูเหมือนธรรมดา
ทว่ามีความเป็นอมตะและมีเรื่องราวมากมายอยู่ในตัวเอง
หากใครได้รู้สรรพคุณของชา หรือได้ลองจิบชา
แม้เพียงถ้วยเดียว ก็ยากที่จะปฏิเสธถ้วยต่อไปได้
บัดนี้การดื่มชา ได้กลายเป็นเครื่องดื่มยอดนิยม
ของคนรุ่นใหม่ที่รักสุขภาพ
เป็นชาหอมสมุนไพรที่มีรสชาตินุ่มนวล กลมกล่อม
กลิ่นหอมของสมุนไพรที่ใหม่สด
ทำให้ประทับใจรู้สึกสดชื่น ร่างกายเบาสบาย
หายเหนื่อยทั้งกายและใจ
การนำสมุนไพรต่าง ๆ มาผสมรวมกัน
แล้วชงกับน้ำร้อนเพื่อดื่ม เรียกว่า“ ชา “
เราเรียกกันตามรูปแบบ
การดื่มสมุนไพรในรูปแบบของการชงชา
การนำเอาสมุนไพรต่าง ๆ มาชงกับน้ำร้อน
เหมือนการชงใบชานั่นเอง ความหอมกรุ่นของชาหอมสมุนไพร
พร้อมทั้ง ประโยชน์และสรรพคุณของสมุนไพร
แต่ละชนิดมีคุณค่ามหาศาล
กับการรักษาร่างกายให้สมดุล มีผลทำให้สุขภาพ
แข็งแรง และอายุยืน อย่างมีความสุข
การใส่ใจดูแลสุขภาพ ด้วยวิถีธรรมชาติ
ชาหอมภูต้นน้ำเป็นชาหอมสมุนไพร
มหัศจรรย์ที่ธรรมชาติมอบให้ เพื่อรักษาสุขภาพให้สมดุล
อายุยืนยาว เพราะชาหอมสมุนไพรประกอบไปด้วย
สมุนไพรที่มีคุณค่าหลายชนิดมารวมกัน
อยู่ในสัดส่วนที่พอดี ทำให้มีผลต่อการ
รักษาภาวะกรดด่างที่สมดุลในร่างกาย
ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการล้างพิษ
ออกจากร่างกายหรือมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ
ที่ทำลายเซลล์สมองจนกระทั่งแสดงอาการ
ของโรคอัลไซเมอร์ในคนสูงอายุ หรือเซลล์เกิดกลายพันธ์
เป็นต้นเหตุของการเกิดเนื้อร้าย หรือมะเร็งได้
นอกจากนี้ ชาหอมภูต้นน้ำ เป็นผลิตภัณฑ์
ที่รวมสรรพคุณของสมุนไพรต่าง ๆ ที่กระตุ้นระบบย่อย
และการดูดซึมอาหาร ช่วยผ่อนคลายระบบประสาท
หรือช่วยลำเลียงสารอาหาร ไปหล่อเลี้ยง
ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และช่วยขับของเสียออกจากเลือด
ลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดัน
บำรุงเลือดขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ ขับลม
บำรุงหัวใจ และ ลดความร้อนในร่างกาย
แก้ไข้ แก้เจ็บคอ ได้เป็นอย่างดี
ดื่มชาหอมสมุนไพร ไม่มีอาการท้องผูก
หรือนอนไม่หลับ เหมือนการดื่มน้ำชาจีนโดยทั่วไป
เพราะชาหอมสมุนไพรไม่มีคาเฟอีน
ศิลปแห่งการชงชา
นำชาหอมภูต้นน้ำ ใส่กาสำหรับชง เทน้ำร้อนใส่ให้ทั่ว
แล้วเทน้ำแรกทิ้งไป เพื่อเป็นการล้างชา
หรือเป็นการปลุกชาหอมสมุนไพรให้มีสีสวย
และกลิ่นหอมออกมาก่อน จากนั้นเทน้ำให้ท่วมชา
ทิ้งไว้สักครู่ จึงรินใส่แก้ว แล้วจิบช้าๆ
จะได้สัมผัสกับกลิ่นหอมและรสชาติ
กลมกล่อมของสมุนไพรไทย ที่ยากจะลืมเลือนได้
ชาหอมภูต้นน้ำ สูตรต่างๆ สามารถดื่มได้ทั้งวัน
แทนน้ำเปล่า อาการผิดปกติของร่างกาย
ที่รู้สึกไม่ค่อยสบาย จะถูกปรับสภาพให้
เข้าสู่ภาวะสมดุล ร่างกายแข็งแรง เป็นปกติ
ชาหอมภูต้นน้ำ ได้ถูกบรรจงผสมผสานสมุนไพรต่างๆ
เข้าด้วยกันในอัตราที่เหมาะสม พร้อมทั้งความสะอาด
ของสมุนไพร ที่ได้คุณภาพ และรสชาติที่กลมกล่อม
ให้ความสดชื่น ร่างกาย เบาสบาย ได้ตลอดวัน
สรรพคุณสมุนไพรต่างๆ
ที่มีในชาหอมภูต้นน้ำ
1. ใบเตย Pandan Leaves
- ช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น และช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ (น้ำใบเตย)
- ดับกระหายคลายร้อนได้เป็นอย่างดี เพราะใบเตยมีกลิ่นหอมเย็น ดื่มแล้วจึงรู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย
- รสหวานเย็นของใบเตยช่วยชูกำลังได้
- การดื่มน้ำใบเตยช่วยแก้อาการอ่อนเพลียของร่างกายได้
- ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
- ผู้ที่มีธาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุไฟนั้น การรับประทานอาหารที่ปรุงจากใบเตยจะช่วยทำให้รู้สึกเย็นสบายสดชื่นได้
- ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งตามตำรับยาไทยได้มีการนำใบเตยหอม 32 ใบ, ใบของต้นสัก 9 ใบ นำมาหั่นตากแดด แล้วนำมาชงเป็นชาดื่มอย่างน้อย 1 เดือน หรือจะใช้รากประมาณ 1 กำมือนำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าเย็นก็ได้เหมือนกัน (ใบ, ราก)
- ช่วยลดความดันโลหิต (สารสกัดน้ำจากใบเตย)
- ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด
- ช่วยบรรเทาอาการอาการและดับพิษไข้ได้
- ช่วยดับพิษร้อนภายในได้เป็นอย่างดี
- ใช้รักษาโรคหืด (ใบ)
- ใช้เป็นยาแก้กระษัย (ต้น, ราก)
- ใช้เป็นยาขับปัสสาวะด้วยการใช้ต้น 1 ต้น หรือจะใช้รากครึ่งกำมือก็ได้ นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ราก, ต้น)
- ใช้รักษาโรคหัดได้
- ใบเตยสดนำมาตำใช้พอกรักษาโรคผิวหนังได้
- มีการนำใบเตยมาใช้แต่งกลิ่นอาหารอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นของหวานต่าง ๆ อย่างเช่น ขนมลอดช่อง ขนมชั้น รวมไปถึงเค้กและสลัด เป็นต้น
- มีการนำใบเตยมาทุบพอแตก นำไปใส่ก้นลังถึงสำหรับนึ่งขนม จะทำให้ขนมที่สุกแล้วมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมาก
- ใช้ใบเตยรองก้นหวดสำหรับนึ่งข้าวเหนียว เมื่อข้าวสุกแล้วจะทำให้มีกลิ่นหอมมาก
- สีเขียวของใบเตยเป็นสีของคลอโรฟิลล์ สามารถนำมาใช้แต่งสีขนมได้
- ใช้ใบเตยสดใส่ลงไปในน้ำมันที่ใช้แล้ว ตั้งไฟให้ร้อนแล้วค่อยตักใบเตยขึ้น จะทำให้น้ำมันไม่มีกลิ่นเหม็นหืน ทำให้น้ำมันที่ใช้ทอดมีกลิ่นเหมือนน้ำมันใหม่
- ประโยชน์ของใบเตยกับการนำมาใช้ทำเป็นทรีตเมนต์สูตรบำรุงผิวหน้า ด้วยการใช้ใบเตยล้างสะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาปั่นรวมกับน้ำสะอาดจนละเอียด จะได้ครีมข้นเหนียวแล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที
2.เก็กฮวย Chrysanthemum
- น้ำเก๊กฮวยใช้ดื่มแก้กระหาย เพิ่มความสดชื่น
- ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
- ช่วยขับเหงื่อ
- จากงานวิจัยพบว่าสารสกัดจากดอกเก๊กฮวยมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสเอดส์ได้
- ช่วยดูดซับสารก่อมะเร็งและจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ
- ช่วยขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ไปเลี้ยงหัวใจ ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดต่าง ๆ
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดตีบ
- ช่วยบำรุงโลหิตช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
- ช่วยบำรุงและรักษาสายตา (เก๊กฮวยดอกเหลือง)
- ช่วยแก้อาการตาบวมแดง ปวดตา มองเห็นไม่ชัด ตาเบลอ ตามัว
- แก้อาการตาอักเสบ ด้วยการใช้ดอกสดตำแล้วนำมาประคบภายนอกดวงตา
- ช่วยแก้อาการปวดศีรษะเนื่องจากการกำเริบของหยางในตับ
- ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย (เก๊กฮวยดอกเหลือง)
- ช่วยแก้ไข้ (เก๊กฮวยดอกเหลือง)
- ช่วยแก้อาการหวัด
- เก๊กฮวยดอกขาวหากใช้ร่วมกับ สะระแหน่ ใบไผ่ขม จะช่วยแก้อาการไอได้
- เก๊กฮวยแก้ร้อนใน มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ช่วยดับพิษร้อน
- ช่วยระบายและย่อยอาหาร
- ช่วยขับลม
- เก๊กฮวยดอกขาวหากใช้ร่วมกับ สะระแหน่ ใบไผ่ขม จะช่วยบำรุงปอด
- ช่วยบำรุงตับ ไต (เก๊กฮวยดอกเหลือง)
- ใช้รักษาฝีเป็นหนอง บวม และเป็นพิษ ด้วยการใช้ดอกสดนำมาบดผสมน้ำแล้วดื่ม และนำกากที่เหลือมาพอกบริเวณที่เป็น
- ช่วยรักษาผมร่วง ทำให้ผมไม่เปลี่ยนเป็นสีเทา
3. มะตูม Beal Fruit
- ลแก่แต่ไม่สุกใช้รับประทานเป็นยาบำรุงร่างกาย รักษาธาตุ บำรุงธาตุไฟ
- ผลสุกสามารถนำมาใช้เป็นยาระบายได้
- ช่วยรักษาอาการท้องร่วง ท้องเดิน โรคลำไส้
- ใช้รักษาอาการท้องผูกเรื้อรังได้
- ใบสดนำมาคั้นเอาน้ำ ใช้แก้หวัด
- เปลือกรากและลำต้นจะช่วยแก้อาการไข้จับสั่น
- แก้ลม แก้มูกเลือด
- ช่วยรักษาอาการหลอดลมอักเสบ
4. ตะไคร้ Lemongrass
- มีส่วนช่วยในการขับเหงื่อ
- เป็นยาบำรุงธาตุไฟให้เจริญ (ต้นตะไคร้)
- มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร
- ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (ต้น)
- สารสกัดจากตะไคร้มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
- แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ
- ช่วยรักษาอาการไข้ (ใบสด)
- ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ (ราก)
- น้ำมันหอมระเหยของใบตะไคร้สามารถบรรเทาอาการปวดได้
- ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
- ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ใบสด)
- ใช้เป็นยาแก้อาเจียนหากนำไปใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ (หัวตะไคร้)
- ช่่วยแก้อาการกษัยเส้นและแก้ลมใบ (หัวตะไคร้)
- รักษาโรคหอบหืดด้วยการใช้ต้นตะไคร้
- ช่วยแก้อาการเสียดแน่นแสบบริเวณหน้าอก (ราก)
- ใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้องและอาการท้องเสีย (ราก)
- ช่วยแก้และบรรเทาอาการปวดท้อง
- ช่วยรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ (หัวตะไคร้)
- ช่วยในการขับน้ำดีมาช่วยในการย่อยอาหาร
- น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้มีส่วนช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ได้
- มีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะ
- ช่วยแก้อาการปัสสาวะพิการและรักษาโรคนิ่ว (หัวตะไคร้)
- ช่วยแก้อาการขัดเบา (หัวตะไคร้)
- ใช้เป็นยาแก้ขับลม (ต้น)
- ช่วยรักษาอหิวาตกโรค
- ช่วยแก้ลมอัมพาต (หัวตะไคร้)
- ใช้เป็นยารักษาเกลื้อน (หัวตะไคร้)
- น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ สามารถช่วยต่อต้านเชื้อราบนผิวหนังได้เป็นอย่างดี
- ช่วยแก้โรคหนองใน หากนำไปผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ
5. กระเจี๊ยบแดง Roselle
- กลีบเลี้ยงของดอกหรือกลีบที่เหลือที่ผล ใช้เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือดและช่วยลดน้ำหนัก โดยมีการทดลองกับกระต่ายที่มีไขมันสูง แล้วพบว่าระดับไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอล และระดับไขมันเลว (LDL) ลดลง และมีปริมาณของไขมันชนิดดี (HDL) เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ความรุนแรงของการอุดตันหลอดเลือดแดงใหญ่จากหัวใจก็น้อยลงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัดกระเจี๊ยบแดงอีกด้วย (ผล, เมล็ด, น้ำกระเจี๊ยบแดง)
- ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยละลายไขมันในเส้นเลือด (ดอก)
- เมล็ดใช้เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง (เมล็ด, น้ำกระเจี๊ยบแดง, ยอดและใบ)
- ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยลดความดันโลหิต โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด มีรายงานการวิจัยทางคลินิกพบว่าในวันที่ 12 หลังผู้ป่วยได้รับชาชงกระเจี๊ยบแดงทุกวัน ค่าความดันโลหิตเมื่อหัวใจบีบตัวและคลายตัวลดลง 11.2% และ 10.7% ตามลำดับเมื่อเทียบกับวันแรก และ 3 วันหลังจากหยุดดื่มชาชง ความความดันโลหิตทั้งสองค่าก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
- เมล็ดช่วยบำรุงโลหิต (เมล็ด)
- ช่วยแก้เส้นเลือดตีบตัน ช่วยรักษาเส้นเลือดให้แข็งแรงและอ่อนนิ่มยืดหยุ่นได้ดี (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- น้ำกระเจี๊ยบช่วยทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
- ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยรักษาโรคเส้นเลือดแข็งเปราะได้เป็นอย่างดี (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
- ในอียิปต์มีการใช้ทั้งต้นของกระเจี๊ยบแดงมาต้มกินเพื่อเป็นยารักษาโรคหัวใจและโรคประสาท (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้อาการคอแห้ง กระหายน้ำ (น้ำกระเจี๊ยบแดง, ผล)
- น้ำกระเจี๊ยบช่วยแก้อาการร้อนใน (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
- ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันหวัด เนื่องจากกระเจี๊ยบแดงมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารสีแดงในกลุ่มเดียวกับที่พบในผลไม้อย่างบลูเบอร์รี แต่กระเจี๊ยบแดงจะมีสารชนิดนี้มากกว่าบลูเบอร์รีถึง 50%
- ช่วยลดไข้ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
- ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยแก้อาการไอ (น้ำกระเจี๊ยบแดง, ดอก)
- ใบใช้เป็นยากัดเสมหะ ขับเมือกมันในลำคอให้ลงสู่ทวารหนัก (ใบ, ดอก)
- ช่วยรักษาและป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากมีวิตามินซีในปริมาณที่สูงอยู่พอสมควร (น้ำกระเจี๊ยบ)
- ช่วยในการย่อยอาหาร ใช้เป็นยาระบาย ช่วยหล่อลื่นลำไส้ ทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น (น้ำกระเจี๊ยบ, เมล็ด, ยอดและใบ)
- ในอียิปต์มีการใช้ทั้งต้นนำมาต้มกินเป็นยาลดน้ำหนัก เนื่องจากเป็นยาระบายและยังช่วยฆ่าเชื้อในลำไส้ได้อีกด้วย (ทั้งต้น)
- ช่วยรักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดเป็นผง ใช้รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะแล้วดื่มน้ำตาม วันละ 3-4 ครั้ง (ผล)
- ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (ผล)
- ใบกระเจี๊ยบแดงมีสรรพคุณช่วยแก้โรคพยาธิตัวจี๊ด หรือจะใช้ผลอ่อนนำมาต้มรับประทานติดต่อกัน 5-8 วัน หรือจะใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ หรือจะใช้ทั้งต้นใส่หม้อต้มกับน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวไฟจนงวดให้เหลือ 1 ส่วน แล้วผสมกับน้ำผึ้งกึ่งหนึ่ง ใช้รับประทานวันละ 3 เวลา หรือจะรับประทานน้ำยาเปล่า ๆ ก็ได้จนหมดน้ำยา (ใบ, ผล, ทั้งต้น)
- น้ำกระเจี๊ยบมีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันได้อีกทางหนึ่ง โดยมีรายงานวิจัยทางคลินิกว่า เมื่อให้ผู้ป่วยดื่มผงกระเจี๊ยบขนาด 3 กรัม ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน พบว่าได้ผลดีในการขับปัสสาวะ (น้ำกระเจี๊ยบแดง, เมล็ด, ยอดและใบ)
- ช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ ลดอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีอาการปวดแสบ โดยใช้กระเจี๊ยบแห้งบดเป็นผงประมาณ 3 กรัม นำมาชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย ใช้ดื่มวันละ 3 ครั้ง ประมาณ 7 วัน หรือจนกว่าจะหาย ซึ่งจากรายงานการวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่ดื่มน้ำกระเจี๊ยบแดงขนาด 3 กรัม ชงกับน้ำเดือด 1 แก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่าผู้ป่วยกว่า 80% มีปัสสาวะที่ใสขึ้นกว่าเดิม และยังพบว่าปัสสาวะมีความเป็นกรดมากขึ้น จึงช่วยในการฆ่าเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้เป็นอย่างดี (น้ำกระเจี๊ยบแดง, เมล็ด)
- ช่วยแก้อาการขัดเบา โดยใช้กลีบเลี้ยงของผลหรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง นำมาตากแห้งแล้วบดให้เป็นผง นำมาใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (ประมาณ 3 กรัม) ใช้ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (ประมาณ 250 มิลลิลิตร) แล้วนำมาเฉพาะน้ำสีแดงใส วันละ 3 ครั้ง ดื่มติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการจะดีขึ้นและหายไป (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
- ช่วยป้องกันโรคต่อมลูกหมากโต (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
- ช่วยเพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ และช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลาย (น้ำกระเจี๊ยบแดง, เมล็ด)
- ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยรักษาไตพิการ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
- เมล็ดช่วยแก้ดีพิการ (เมล็ด)
- กระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์ต้านการเกิดพิษต่อตับและช่วยป้องกันตับจากการถูกทำลายจากสารพิษ โดยมีงานวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่า สารสกัดด้วยน้ำ (Anthocyanins) และสาร Protocatechuic Acid ของกระเจี๊ยบแดง สามารถช่วยลดความเป็นพิษต่อตับจากสารพิษได้หลายชนิด (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
- ใบใช้ตำพอกฝีหรือใช้ต้มน้ำเพื่อใช้ล้างแผลได้ (ใบ)
- ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกระเจี๊ยบแดง ช่วยลดอาการบวม ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อราอะฟลาท็อกซิน ไวรัสเริม ยับยั้งเนื้องอก ช่วยขับกรดยูริก คล้ายกล้ามเนื้อเรียบ และลดความเจ็บปวด
- สารสกัดจากลีบดอกของกระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสตรีวัยทองไม่มากก็น้อย (กลีบดอก)
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง โดยสารแอนโทไซยานินจากกระเจี๊ยบมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งออกซิเดชันของไขมันเลส และยับยั้งการตายของมาโครฟาจ โดยมีสาร Dp3-Sam ซึ่งเป็นแอนโทไซยานินชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์ช่วยกำจัดเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวในห้องทดลองได้ จึงมีผลในการช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งและอาจช่วยชะลอการลุกลามของมะเร็งบางชนิดได้ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
6. ใบหม่อน Mulberry
- ใบหม่อนมีรสจืดเย็น ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาระงับประสาท (ใบ)[1],[4]
- ใบใช้ทำชามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (ราก)[4]
- กิ่งหม่อนมีสรรพคุณช่วยทำให้เลือดลมไหลเวียนได้สะดวกมากขึ้น (กิ่ง)[8]
- ช่วยบำรุงหัวใจ (ผล)[8]
- ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ)[2]
- ผลนำมาต้มกับน้ำหรือเชื่อมกินเป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติ (ผล)[3],[4]
- ผลหม่อนมีรสเปรี้ยวหวานเย็น มีสรรพคุณช่วยดับร้อน คายความร้อนรุ่ม ขับลมร้อน ทำให้ชุ่มคอ บรรเทาอาการกระหายน้ำ และทำให้ร่างกายชุ่มชื่น (ผล)[1],[2],[4],[8]
- ใบใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ ไข้หวัด ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ และเป็นยาช่วยขับลมร้อน (ใบ)[1],[2],[3],[4]
- ใบมีรสขม หวานเล็กน้อย เป็นยาเย็นออกฤทธิ์ต่อปอด ตับ และกระเพาะอาหาร ใช้เป็นยาแก้ไอร้อนเนื่องจากถูกลมร้อนกระทบ (ใบ)[2]
- ใบมีสรรพคุณช่วยขับเหงื่อ (ใบ)[3],[4]
- ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ (ใบ)[1]
- เปลือกรากหม่อนมีรสชุ่ม เป็นยาเย็นออกฤทธิ์ต่อปอดและม้าม ใช้เป็นยาแก้ไอเป็นเลือด แก้ไอร้อนไอหอบ (เปลือกราก)[2]
- เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาขับเสมหะ (เมล็ด)[3]
- ใบนำมาทำเป็นยาต้ม ใช้อมหรือกลั้วคอแก้อาการเจ็บคอ คอแห้ง แก้ไอ และทำให้เนื้อเยื่อชุ่มชื้น หล่อลื่นภายนอก (ใบ)[2],[3],[4]
- รากนำมาตากแห้งต้มผสมกับน้ำผึ้ง มีรสหวานเย็น ใช้มากในโรคทางเดินหายใจและการมีน้ำสะสมในร่างกายอย่างผิดปกติ (ราก)[4]
- ยอดหม่อนนำมาต้มกับน้ำดื่มและล้างตาเป็นยาบำรุงตา (ยอด)[8] ส่วนผลมีสรรพคุณทำให้เส้นประสาทตาดี ทำให้สายตาแจ่มใส ร่างกายสุขสบาย (ผล)[8]
- ใบนำมาต้มเอาน้ำใช้ล้างตา แก้ตาแดง ตามัว ตาแฉะ และตาฝ้าฟาง (ใบ)[1],[4]
- ใบมีสรรพคุณช่วยทำให้เลือดเย็นและตาสว่าง (ใบ)[2], ส่วนผลมีสรรพคุณช่วยทำให้หูตาสว่าง (ผล)[2]
- ใบแก่นำมาตากแห้งมวนสูบเหมือนบุหรี่ แก้ริดสีดวงจมูก (ใบแก่)[4]
- ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการใช้เปลือกรากประมาณ 90-120 กรัม นำมาทุบให้แหลก แล้วนำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าและเย็น หรือจะใช้ใบนำมาทำเป็นชาเขียวใช้ชงกับน้ำดื่มก็ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เช่นกัน นอกจากนี้ผลก็มีสรรพคุณรักษาเบาหวานได้เช่นกัน (ราก,เปลือกราก,ใบ,ผล)[2],[3],[8]
- ใบอ่อนหรือแก่นำมาทำเป็นชาเขียว ใช้ชงกับน้ำดื่มช่วยลดไขมันในเลือด (ใบ)[3]
- ช่วยขับน้ำในปอด (เปลือกราก)[2]
- กิ่งหม่อนมีสรรพคุณช่วยทำให้ลำไส้ทำงานได้ดี ช่วยจัดความร้อนในปอด และกระเพาะอาหาร ช่วยขจัดการหมักหมมในกระเพาะอาหารและเสลดในปอด (กิ่ง)[8]
- ผลมีสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องผูก (ผล)[2]
- ผลนำมาต้มกับน้ำหรือเชื่อมกินเป็นยาเย็น ยาระบายอ่อน ๆ และมีเมล็ดที่ช่วยเพิ่มกากใยอาหาร (ผล)[3],[4] ส่วนเปลือกต้นก็มีสรรพคุณเป็นยาถ่าย ยาระบายเช่นกัน (เปลือกต้น)[3],[4]
- เปลือกต้นใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ (เปลือกต้น)[3],[4] รากช่วยขับพยาธิ (ราก)[4]
- เปลือกรากมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (เปลือกราก)[2]
- กิ่งหม่อนมีสรรพคุณช่วยรักษาอาการปัสสาวะสีเหลือง มีกลิ่นฉุนอันเกิดจากความร้อนภายใน (กิ่ง)[8]
- ผลเป็นยาเย็นที่ออกฤทธิ์ต่อตับและไต มีสรรพคุณช่วยบำรุงตับและไต (ผล)[1],[2],[4]
- ช่วยรักษาตับและไตพร่อง (ผล)[2]
- รากมีสรรพคุณเป็นยาสมาน (ราก)[4]
- ใบนำมาอังไฟและทาด้วยน้ำมันมะพร้าว ใช้วางบนแผลหรือตำใช้ทาแก้แมลงกัด (ใบ)[4]
- ใบใช้ผสมกับหอมหัวใหญ่เป็นยาพอกรักษาแผลจากการนอนกดทับ (ใบ)[4]
- ใบใช้เป็นยาแก้อาการติดเชื้อ (ใบ)[4]
- ช่วยลดอาการบวมน้ำที่ขา (เปลือกราก)[2]
- ช่วยแก้ข้อมือข้อเท้าเกร็ง แก้โรคปวดข้อ ไขข้อ (ผล)[2],[4],[8]
- ช่วยแก้แขนขาหมดแรง (ราก)[4]
- กิ่งหม่อนมีรสขมเป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อตับ ใช้เป็นยาขับลมชื้นแก้ข้ออักเสบเนื่องจากลมชื้นเกาะติด หรือลมร้อนที่ทำให้ปวดแขน ขาบวม หรือมือเท้าแข็งเกร็ง เส้นตึง (กิ่ง)[2] ช่วยรักษาอาการปวดมือ เท้าเป็นตะคริว เป็นเหน็บชา ด้วยการใช้กิ่งหม่อนและโคนต้นหม่อนเก่า ๆ นำมาตัดเป็นท่อน ๆ ผึ่งไวให้แห้ง แล้วนำมาต้มกิน (กิ่ง)[8]
- ช่วยบำรุงเส้นผมให้ดกดำ (ผล)[8]
- ส่วนในประเทศจีนจะใช้เปลือกราก กิ่งอ่อน ใบ และผล เป็นยาบำรุง แก้โรคเกี่ยวกับทรวงอก แก้ไอ หืด วัณโรคปอด ขับปัสสาวะ การสะสมน้ำในร่างกายผิดปกติ และโรคปวดข้อ (เปลือกราก,กิ่งอ่อน,ใบ,ผล)[4]
7. ดอกคำฝอย Safflower
- สมุนไพรดอกคําฝอย สรรพคุณช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด เนื่องจากดอกคำฝอยมีกรดไลโนเลอิก (Linoleic Acid) อยู่มาก ซึ่งกรดชนิดนี้จะเข้าไปทำปฏิกิริยากับไขมันในเลือดและขับออกทางปัสสาวะและทางอุจจาระ จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ไม่ชอบรับประทานหัวหอมหรือกระเทียมที่มีสรรพคุณเช่นเดียวกัน ด้วยการใช้ดอกคำฝอยแห้งประมาณ 2 หยิบมือ (2.5 กรัม) นำมาชงกับน้ำร้อนครึ่งถ้วยแล้วใช้ดื่ม หรืออีกสูตรให้ใช้ดอกคำฝอย 1 หยิบมือและดอกเก๊กฮวย 10 ดอก ผสมด้วยน้ำสะอาด 500 cc. แล้วเคี่ยวจนงวดประมาณ30 นาที นำมาดื่มเป็นน้ำชาครั้งละ 1 ถ้วยแก้ววันละ 2-3 ครั้ง และสำหรับผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงกว่าปกติก็ให้รับประทานติดต่อกันสัก 3-7 วัน และถ้าต้องการเพิ่มรสชาติหรือดับรสขื่นหรือเฝื่อน ก็ให้เติมน้ำตาลทรายขาวเข้าไป 2-3 ช้อนชาต่อน้ำ 1 ถ้วยแก้ว (ดอก, กลีบที่เหลือจากผล, น้ำมันจากเมล็ด)
- ดอกคำฝอย ลดความอ้วน ! ด้วยการใช้ดอกประมาณ 5 กรัมนำมาชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น (ดอก)
- ช่วยบำรุงประสาทและระงับประสาท (ดอก, กลีบที่เหลือจากผล)
- ช่วยรักษาโรคฮิสทีเรีย (Hysteria) หรือโรควิตกกังวลอย่างหนึ่ง หรือโรคขาดความอบอุ่น (ดอก)
- ช่วยขยายหลอดเลือด ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในร่างกายให้ดียิ่งขึ้น ทำให้มีออกซิเจนเข้าถึงเซลล์ต่าง ๆ ได้ดี (ดอก)
- ช่วยบำรุงโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษ และช่วยฟอกโลหิต (ดอก, เกสร, กลีบที่เหลือจากผล)
- ช่วยสลายลิ่มเลือด จะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่ชอบกินของหวาน เพราะจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้เลือดเหนียวข้นจับตัวกันเป็นลิ่มเลือด ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ไม่ดี โดยดอกคำฝอยจะช่วยสลายลิ่มเลือดให้เล็กลง ช่วยป้องกันไม่ให้เลือดเกาะตัวกันเป็นลิ่มเลือด (ดอก)
- ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยทำให้มีเลือดไปเลี้ยงที่หัวใจมากยิ่งขึ้น ทำให้หัวใจแข็งแรง (ดอก, กลีบที่เหลือจากผล)
- ช่วยแก้โรคลมเนื่องจากเส้นเลือดในสมองแตก (เมล็ด)
- ช่วยรักษาอาการปวดหัวใจอันเนื่องมาจากเลือดและซี่ตับ หรือเลือดลมเดินไม่สะดวก (ส่วนมากจะใช้ร่วมกับสมุนไพรตังเซิน ชวนเจียง อู่หลินจือ)
- ช่วยขับเหงื่อ (ดอก)
- ช่วยรักษาอาการไข้หลังคลอดของสตรี (ดอก)
- ดอกช่วยแก้ไข้ในเด็ก (ดอก)
- ช่วยแก้หวัดน้ำมูกไหล (ดอก)
- เมล็ดใช้เป็นยาขับเสมหะ (เมล็ด)
- เมล็ดหรือดอกใช้เป็นยาถ่าย เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ (ดอก, เมล็ด)
- ช่วยรักษาท้องเป็นเถาดัน (ดอก)
- เมล็ดใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (เมล็ด)
- ช่วยบำรุงโลหิตประจำเดือนของสตรี ช่วยขับระดูโลหิตประจำเดือนของสตรี ช่วยกระจายเลือดแก้ประจำเดือนคั่งค้างมาไม่เป็นปกติ (ดอก, เกสร, เมล็ด, กลีบที่เหลือจากผล)
- ช่วยระงับอาการปวดประจำเดือนของสตรี (ดอก)
- ช่วยแก้อาการปวดมดลูกและลดอาการอักเสบของมดลูกในสตรี (เมล็ด)
- แก้อาการตกเลือด อาการปวดท้องหลังคลอด น้ำคาวปลาไม่หมด (ดอก)
- ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย บำรุงน้ำเหลืองให้เป็นปกติ (ดอก, เกสร, กลีบที่เหลือจากผล)
- ดอกและกลีบที่เหลือจากผลช่วยแก้ดีพิการ (ดอก, กลีบที่เหลือจากผล)
- ดอกช่วยแก้ดีซ่าน (ดอก)
- น้ำมันจากเมล็ดใช้ทารักษาโรคผิวหนังได้ (ดอก, เมล็ด, กลีบที่เหลือจากผล)
- ช่วยแก้ฝี (น้ำมันจากเมล็ด)
- ช่วยรักษาตาปลา ด้วยการใช้ดอกคำฝอยสดและตี้กู่ฝีในปริมาณที่เท่ากัน นำมาตำผสมรวมกัน แล้วใช้ปิดบริเวณที่เป็นตาปลา โดยเปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง ไม่เกิน 5 วันก็จะดีขึ้น (ดอก)
- ช่วยแก้อาการแสบร้อนตามผิวหนัง (ดอก, เกสร, กลีบที่เหลือจากผล)
- น้ำมันจากเมล็ดใช้ทาแก้อาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว รักษาโรคไขข้ออักเสบได้ หรือจะใช้ดอกนำมาต้มกับน้ำแช่เหล้า หรือใช้วิธีตำแล้วพอกก็ได้ (เมล็ด, ดอก)
- ช่วยป้องกันแผลกดทับ ด้วยการใช้ดอกคำฝอยประมาณ 3 กรัมนำมาแช่กับน้ำพอประมาณจนน้ำเป็นสีแดง แล้วนำมาถูกบริเวณที่กดทับ โดยถูครั้งละ 10-15 นาที หากทำอย่างสม่ำเสมอก็จะช่วยป้องกันแผลกดทับได้ถึง 100% โดยไม่มีผลข้างเคียง (ดอก)
- ช่วยรักษาแผลกดทับ ด้วยการนำดอกคำฝอย 500 กรัม มาต้มในน้ำ 7 ลิตรด้วยไฟปานกลางประมาณ 2 ชั่วโมง จนดอกคำฝอยเปลี่ยนเป็นสีขาว แล้วตักเอากากออกเหลือไว้แต่น้ำ เคี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆ ต่อไปจนน้ำเหนียวเป็นกาว หลังจากนั้นให้ทายาลงบนผ้าสะอาดที่ฆ่าเชื้อแล้ว แล้วเอาไปปิดบริเวณที่เป็นแผลกดทับ เปลี่ยนยาวันละ 1-2 ครั้ง โดยทำติดต่อกันประมาณ 1 อาทิตย์ แผลจะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไปเอง (ดอก)
- ดอกช่วยบำรุงคนเป็นอัมพาต (ดอก)
- น้ำมันจากเมล็ดใช้ทาเป็นยาแก้อัมพาตและอาการขัดตามข้อต่าง ๆ ได้ (น้ำมันจากเมล็ด)
- เมล็ดใช้ตำแล้วนำมาพอกบริเวณหัวหน่าว ช่วยแก้อาการปวดมดลูกหลังการคลอดบุตรได้ (เมล็ด)
- ดอกใช้ต้มน้ำอาบเวลาออกหัด (ดอก)
- ดอกคำฝอยมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย (ดอก, น้ำมันจากเมล็ด)
- ในปากีสถานและอินเดีย ทุกส่วนของต้นคำฝอยนำมาขายเป็นสมุนไพรคําฝอยที่เรียกว่า “Pansari” ซึ่งมีสรรพคุณใช้รักษาโรคหลาย ๆ อย่าง และใช้เป็นยากระตุ้นทางเพศ (Aphrodisiac) (ข้อมูลจากเว็บ beautyherbshop.com)
- ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของคำฝอย ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด ลดอาการอักเสบ แก้แพ้ ช่วยต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งฟันผุ
8. เจียวกู่หลาน Gynostemma pentaphyllum Makino
- เจียวกู่หลาน หรือ สมุนไพรปัญจขันธ์ มีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอความแก่ การรับประทานเจียวกู่หลานครั้งละ 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 60 วัน จากคนที่เข้ารับการรักษาจำนวน 1-6 คน พบว่า คนที่เข้ารับการรักษาร่างกายทุกคนแข็งแรงดีขึ้น ความจำฟื้นคืนปกติ อาการนอนไม่หลับและอาการปวดหลังปวดเอวหายไป[1]
- ใช้เป็นยารักษามะเร็ง ต้านทานการเจริญเติบโตของเชื้อมะเร็ง ด้วยการรับประทานสารสกัดจากเจียวกู่หลานครั้งละ 40 มิลลิลิตร วันละ 2 ครั้ง จากคนที่เข้ารับการรักษาจำนวน 30 คน โดยทำการรักษาเป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่า มี 27 ราย ได้ผลดีขึ้น ประสิทธิภาพในการรักษาประมาณ 87%[1] บางข้อมูลระบุว่าเจียวกู่หลานมีสรรพคุณช่วยควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปอด มะเร็งในช่องท้อง มะเร็งลำไส้ มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งมดลูก มะเร็งเต้านม และอื่น ๆ อีกรวมกว่า 20 ชนิด
- ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ลดไขมันในเส้นเลือด ด้วยการใช้ใบเจียวกู่หลานแห้ง นำมาชงกับน้ำรับประทานแทนน้ำชา ครั้งละ 2-3 กรัม วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 40 วันอย่างต่อเนื่อง พบว่า ผู้ที่เข้ารับการรักษาจำนวน 29 คน มี 19 คน ที่เห็นผลดี และมี 1 คน ที่ได้ผล โดยมีประสิทธิภาพในการรักษาอยู่ที่ 68.97%[1],[2]
- ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ มีอาการปวดบิดทางหัวใจ ด้วยการใช้ใบเจียวกู่หลานแห้ง นำมาชงกับน้ำรับประทานแทนน้ำชา ครั้งละ 2-3 กรัม วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 40 วันอย่างต่อเนื่อง พบว่า คนไข้ที่เข้ารับการรักษาจำนวน 23 คน มี 7 คน ที่ได้ผล และมี 5 คน ที่ให้ผลเด่นชัด ส่วนอีก 11 รายยังไม่เห็นผลชัดเจน โดยมีประสิทธิภาพการรักษาอยู่ที่ 68.17%[1] แต่ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำจะปรับความดันให้เป็นปกติ[2]
- ช่วยทำให้หัวใจแข็งแรง[2]
- ช่วยยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด[2]
- ทั้งต้นและรากมีรสขม เป็นยาเย็น ใช้เป็นยาดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ รักษาไข้หวัด แก้ร้อนในต่าง ๆ[1],[2]
- ช่วยแก้อาการไอ ไอเรื้อรัง[1],[2]
- ช่วยขับเสมหะ[1],[2]
- ใช้เป็นยารักษาหลอดลมอักเสบ โรคหลอดลมเรื้อรัง หลอดลมแข็งตัว ตามรายงานระบุว่าจากการใช้เจียวกู่หลานรักษาผู้ป่วยโรคหลอดลมเรื้อรังมากกว่า 500 ราย มีประสิทธิภาพในการรักษาอยู่ที่ 79%[1],[2]
- ใช้รักษาโรคถุงลมในปอดอักเสบ ชาวจีนได้มีการใช้เจียวกู่หลานเป็นยารักษาผู้ป่วยที่มีอาการถุงลมในปอดอักเสบมาเป็นเวลานานแล้ว ซึ่งมีผลการทดลองที่ได้นำชาเจียวกู่หลานมาให้ผู้ป่วยดื่มเพื่อรักษาโรคถุงลมในปอดอักเสบ จากการทดลองพบว่า ได้ผลในการรักษาสูงถึง 92% จากการรักษาผู้ป่วยจำนวนทั้งหมด 96 ราย[2]
- ช่วยทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น และทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารมากยิ่งขึ้น[2]
- ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร[2]
- ช่วยทำให้ตับแข็งแรง ใช้รักษาตับอักเสบติดเชื้อหรือตับอักเสบชนิดไวรัสบี กรวยไตอักเสบ[1],[2],[3]
- ใบนำมาทุบ ใช้เป็นยาพอกฝี (ชาวไทใหญ่)[4]
- ใช้เป็นยาขับพิษแก้อักเสบ ต้านการอักเสบ แก้ปวด[1],[2]
- ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก[2]
- ต้นใช้ตำพอกเป็นยาแก้กระดูกหัก แก้อาการเจ็บในกระดูก ปวดในข้อเท้า ข้อมือ หรือปวดตามกล้ามเนื้อ รวมไปถึงอาการฟกช้ำดำเขียวต่าง ๆ (ต้นสด)[3]
- ส่วนสรรพคุณในตำรับยาจีน ระบุไว้ว่าสารสกัดจากเจียวกู่หลานมีสรรพคุณช่วยส่งการสร้างเซลล์กระดูก เสริมสร้างการรวบตัวของโปรตีนและกรดในตับ ช่วยบำรุงสมอง มีผลต่อการรักษาโรคในช่องอก โรคโลหิตจาง โรคหลอดลมเรื้อรังและโรคหลอดเลือดแข็งตัว[2]
- นอกจากนี้เจียวกู่หลานยังมีสรรพคุณอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ช่วยแก้อาการท้องผูก ลดกรด รักษาลำไส้อักเสบ คางทูม ทอนซิล ความจำเสื่อม ปวดหัว ไมเกรน ผมหงอก ผมร่วง หอบหืด ฆ่าเชื้อราที่เท้า โรคเก๊าท์ ปวดหลัง ปวดเอว แก้หูอักเสบ แก้หูด ช่วยควบคุมน้ำหนักตัว ทำให้แผลหายเร็ว เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับเซลล์ในร่างกาย ยับยั้งเซลล์มะเร็ง ลดภูมิแพ้ สร้างสมดุลฮอร์โมนรอบเดือนของสตรี ฟื้นฟูฮอร์โมนต่อมลูกหมากของสุภาพบุรุษ ลดอาการต่อมลูกหมากโต ขับท่อปัสสาวะ ขับน้ำในร่างกายของคนที่เป็นคนอ้วน ขับของเสียที่ไต ช่วยล้างท่อปัสสาวะ ทำให้ท่อปัสสาวะโล่งและมีแรงดัน ช่วยขับลมต่าง ๆ (เช่น ลมที่ไม่ปกติในกระเพาะอาหารและลำไส้ ลมแน่นหน้าอก กรดไหลย้อน ลมในข้อกระดูก แขน ขา หัวไหล่) ขับไขมัน ขับถ่ายสะดวก เป็นต้น[5
9.ดีบัว Nelumbo nucifera Gaertn
1.ช่วยแก้อาการติดเชื้อในช่องปาก ด้วยการใช้ดีบัวประมาณ 1.5-6 กรัม นำมาต้มเอาน้ำดื่ม (ดีบัว)[15]
2.ช่วยแก้ลม (เกสร)[4],[1
3.ช่วยแก้อาการอาเจียนเป็นเลือด (ดีบัว)[9]
4.ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล (เกสรตัวผู้)[4]
5.ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (ราก, เม็ดบัว)[1],[5],[8],[9],[12,[14] หรือจะใช้ใบนำมาหั่นเป็นฝอยชงดื่มแทนน้ำชา ก็ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำได้เช่นกัน (ใบ)[8] หรือจะใช้ดีบัวนำมาต้มเอาน้ำดื่มก็ช่วยแก้กระหายน้ำด้วยเช่นกัน และยังช่วยอาการกระหายหลังอาเจียนเป็นเลือดได้ด้วย (ดีบัว)[12],[15])
6.ช่วยบำรุงถุงน้ำดี (ดีบัว)[7]
7.ดีบัวช่วยแก้อหิวาตกโรค โดยชงดีบัวในน้ำร้อน แล้วดื่มในขณะที่ยังอุ่นครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 ครั้ง (ดีบัว)[12]
8.ช่วยแก้อาการน้ำกามเคลื่อนหรืออาการฝันเปียก (เกสรตัวผู้[4], เม็ดบัว[9],[14], ดีบัว[15])
9.ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี (เม็ดบัว[5],[12], ดีบัว[12],[14], ดอกบัว[12],[14])
10. ขิง
- ขิงจัดว่าเป็นยาอายุวัฒนะชั้นยอด
- มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเป็นจำนวนมาก ช่วยชะลอความแก่และชะลอการเกิดริ้วรอย
- มีส่วนช่วยในการป้องกัน ต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง ต่อต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
- ช่วยลดผลข้างเคียงจากสารเคมีที่ใช้ในการรักษามะเร็ง ดังนั้นควรรับประทานขิงควบคู่ไปกับการรักษามะเร็งจะเป็นผลดี
- ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น และช่วยในการขับเหงื่อ
- ช่วยแก้อาการร้อนใน ด้วยการใช้ลำต้นสด ๆ นำมาทุบให้แหลกประมาณ 1 กำมือ แล้วต้มกับน้ำดื่ม
- ช่วยลดความอ้วน ลดระดับไขมัน คอเลสเตอรอล ด้วยการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากลำไส้ แล้วปล่อยให้ร่างกายกำจัดออกทางอุจจาระ
- ช่วยรักษาอาการปวดศีรษะและไมเกรน ด้วยการรับประทานน้ำขิงบ่อย ๆ
- ช่วยลดความอยากของผู้ติดยาเสพติดลงได้
- แก้ตานขโมย ด้วยการใช้ขิง ใบกะเพรา พริกไทย ไพล มาบดผสมกันแล้วนำมารับประทาน
- ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต ด้วยการนำขิงสดมาฝานต้มกับน้ำดื่ม
- ช่วยบำรุงหัวใจของคุณให้แข็งแรง
- ช่วยบรรเทาอาการของโรคประสาท ซึ่งทำให้จิตใจขุ่นมัว (ดอก)
- ช่วยฟื้นฟูร่างการสำหรับมารดาหลังคลอดบุตร ด้วยการรับประทานไก่ผัดขิง
- มีส่วนช่วยให้เจริญอาหาร (ราก, เหง้า) ด้วยการใช้เหง้าสดประมาณ 1 องคุลีนำมาต้มกับน้ำดื่ม ก็จะได้เป็นยาขมเจริญอาหาร
- ใช้กินเพื่อบำรุงเป็นยาธาตุ บำรุงธาตุไฟ (เหง้า, ดอก)
- ใช้บำรุงน้ำนมของมารดา (ผล)
- ช่วยทำให้นอนหลับได้อย่างสบาย
- การรับประทานขิงจะช่วยทำให้เลือดแข็งตัวเป็นลิ่มเลือดได้ช้าลง
- ใช้แก้ไข้ (ผล) ด้วยการนำขิงสดมาคั้นเป็นน้ำให้ได้ประมาณครึ่งถ้วย แล้วผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วย แล้วนำมาดื่มวันละ 3 ครั้ง จะช่วยบรรเทาอาการได้
- ช่วยแก้หวัด บรรเทาอาการไอ บรรเทาหวัดจับเสมหะ ด้วยการใช้ขิงสดฝนกับน้ำมะนาวใส่เกลือนิดหน่อย
- ไอน้ำหอมระเหยจากน้ำขิงช่วยทำลายไวรัสหวัดในทางเดินหายใจได้
- แก้ลม (ราก)
- ในผู้ป่วยที่มีอาการเมายาสลบหลังผ่าตัด น้ำขิงช่วยแก้เมาได้
- ช่วยแก้อาการเมารถ เมาเรือได้เป็นอย่างดี ด้วยการใช้ขิงสดนำมาตำให้แหลก คั้นเอาเฉพาะน้ำดื่ม (ไม่ต้องดื่มน้ำตาม)
- ช่วยแก้ปัญหาผมร่วง หัวล้าน ด้วยการนำเหง้าสดไปผิงไฟจนอุ่น แล้วนำมาตำให้แหลก นำมาพอกบริเวณที่มีผมร่วง วันละ 2 ครั้งจนอาการดีขึ้น หรืออีกวิธีก็คือคั้นเอาเฉพาะน้ำขิงมาผสมกับน้ำมันมะกอกแล้วนำมาหมักผม นวดให้ทั่วศีรษะประมาณ 30 นาทีก็ช่วยลดปัญหาผมร่วงได้เหมือนกัน แถมยังช่วยให้ผมสวย แข็งแรง มีความนุ่มลื่น ไม่ขาดง่ายอีกด้วย
- ช่วยบำรุงสายตา รักษาโรคเกี่ยวกับตา และใช้แก้อาการตาฟาง (ผล, ใบ)
- ช่วยรักษาอาการตาแฉะ (ดอก)
- ช่วยแก้โรคกำเดา (ใบ)
- ใช้แก้อาการคอแห้ง เจ็บคอ (ผล)
- ใช้รักษาอาการปากคอเปื่อย ท้องผูก (เหง้า,ดอก)
- ช่วยรักษาอาการปวดฟัน ด้วยการนำขิงแก่มาทุบให้ละเอียดคั่วกับน้ำสารส้มจนเกรียม แล้วบดจนเป็นผง จากนั้นนำมาพอกบริเวณฟันที่ปวด
- แก้เสมหะ เสมหะขาวเหลวปริมาณมากมีฟอง (ผล, ราก)
- ช่วยรักษาภาวะน้ำลายมาก อาเจียนเป็นน้ำใส
- ช่วยลดกลิ่นปาก แก้อาการปากเหม็น ด้วยการนำขิงมาคั้นผสมน้ำอุ่นและเกลือเล็กน้อย นำมาอมบ้วนปาก ช่วยฆ่าเชื้อโรคในปากได้อีกด้วย
- ช่วยบำรุงรักษาฟันและป้องกันการเกิดฟันผุ
- ช่วยกำจัดกลิ่นรักแร้ ด้วยการใช้เหง้าขิงแก่นำมาทุบให้แหลก แล้วนำมาคั้นเอาน้ำมาทารักแร้เป็นประจำ จะช่วยกำจัดกลิ่นได้
- ช่วยแก้อาการสะอึก ด้วยการใช้ขิงสดตำจนแหลก คั้นเอาเฉพาะน้ำผสมกับน้ำผึ้งเล็กน้อย คนจนเข้ากันแล้วนำมาดื่ม
- ช่วยรักษาโรคบิด (ผล, ราก, ดอก) ด้วยการใช้ขิงสดประมาณ 75 กรัม ผสมกับน้ำตาลแดง นำมาตำจนเข้ากัน แล้วรับประทาน 3 มื้อต่อวัน
- ช่วยแก้อาการอาเจียน (เหง้า, ผล) ด้วยการนำขิงสดประมาณ 5 กรัมหรือขนาดเท่านิ้วหัวแม่มือ นำมาทุบให้แตกแล้วต้มกับน้ำดื่ม
- ช่วยลดการคลื่นไส้อาเจียนจากการแพ้ท้อง (สำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานบ่อยมากจนเกินไป)
- แก้อาการท้องอืด จุกเสียด แน่นท้อง ขับลมในลำไส้ (ผล, ราก, ใบ) ด้วยการนำขิงแก่มาทุบพอแหลก เทน้ำเดือดลงไปครึ่งแก้ว แล้วปิดฝาตั้งทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีแล้วนำน้ำมาดื่มระหว่างมื้ออาหาร
- ช่วยรักษาอาการปวดในช่วงก่อนหรือหลังประจำเดือน ด้วยการนำขิงแก่ที่แห้งแล้วประมาณ 30 กรัมมาต้มกับน้ำดื่มบ่อย ๆ
- ช่วยในการย่อยอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ดอก)
- ช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการจุกเสียด (เหง้า)
- ช่วยในการขับถ่าย และช่วยในเรื่องของระบบลำไส้ให้ทำงานได้อย่างเป็นปกติ
- ช่วยฆ่าพยาธิ พยาธิกลมจุกลำไส้ (ใบ) ใช้น้ำขิงผสมกับน้ำผึ้งแล้วนำมาดื่ม
- ช่วยแก้อาการขัดปัสสาวะ (ดอก, ใบ)
- ช่วยรักษาปัสสาวะรดที่นอนในผู้ป่วยที่มีภาวะหยางพร่อง มีความเย็นในร่างกายเป็นเหตุ
- ช่วยรักษาโรคนิ่ว (ใบ, ดอก)
- ช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ใบ)
- ช่วยรักษาอาการปวดข้อตามร่างกายด้วยการรับประทานขิงสดเป็นประจำ
- มีฤทธิ์ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย
- ใช้เป็นยาแก้คัน ด้วยการนำแก่นของขิงฝนทำเป็นยา (แก่น)
- แก้ปัญหาหนังที่มือลอกเป็นขุย ด้วยการใช้เหง้าสดมาหั่นเป็นแผ่น แล้วนำมาแช่เหล้า 1 ถ้วยชา ทิ้งไว้ 1 วัน แล้วนำแผ่นขิงมาถูบริเวณดังกล่าววันละ 2 ครั้ง
- ช่วยรักษาแผลเริมบริเวณหลัง ด้วยการใช้เหง้า 1 หัว นำมาเผาผิวนอกจนเป็นถ่าน คอยปาดถ่านที่ผิวนอกออกไปเรื่อย ๆ แล้วนำผงที่ได้มาผสมกับน้ำดีหมูนำมาทาบริเวณที่เป็นแผล
- หากถูกแมงมุมกัด ใช้ขิงสดฝานบาง ๆ นำมาวางทับบริเวณที่ถูกกัดจะช่วยบรรเทาอาการได้
- ช่วยรักษาอาการมือเท้าเย็น กลัวหนาว เย็นท้อง เป็นต้น
- ช่วยป้องกันการแพ้อาหารทะเลจนเกิดผื่นคัน ลมพิษ หรืออาหารช็อก
- ช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการนำขิงสดมาตำให้แหลก แล้วนำกากมาพอกบริเวณแผล เพื่อป้องกันการอักเสบและการเกิดหนอง
- ในขิงมีสารที่สามารถใช้กันบูดกันหืนในน้ำมันได้
- ในด้านการประกอบอาหารนั้น ขิงสามารถช่วยเพิ่มรสชาติอาหารได้เป็นอย่างดี และสามารถช่วยดับกลิ่นคาวของอาหารได้ดีอีกด้วย
- ในด้านความงามนั้นมีผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้บำรุงผิวที่มีส่วนผสมของขิงอีกด้วย
- ช่วยให้ผิวพรรณเรียบเนียนยิ่งขึ้น ด้วยการนำขิงสดมาขูดเป็นฝอยแล้วนำมานวดบริเวณต้นขา ก้น หรือบริเวณที่มีเซลลูไลต์จะช่วยลดความขรุขระของผิวได้อีกด้วย
- ผลิตภัณฑ์จากขิงนั้นนำมาแปรรูปได้หลายอย่าง เช่น บัวลอยน้ำขิง ขิงแช่อิ่ม ขิงเชื่อม ขิงกระป๋อง ขิงแคปซูล น้ำขิงมะนาว เป็นต้น
ที่มา : https://medthai.com
150 g | 50 pcs | 600 g |
290 Baht | 290 Baht | 980 Baht |
100 g | 50 pcs | 600 g |
250 Baht | 290 Baht | 880 Baht |
100 g | 50 pcs | 600 g |
250 Baht | 290 Baht | 880 Baht |
100 g | 50 pcs | 600 g |
250 Baht | 290 Baht | 880 Baht |
100 g | 50 pcs | 600 g |
250 Baht | 290 Baht | 880 Baht |
100 g | 50 pcs | 600 g |
250 Baht | 290 Baht | 880 Baht |
1 ลัง | 24 ชิ้น | ส่วนลด 10% |
2 ลัง | 48 ชิ้น | ส่วนลด 25% |
1 ลัง | 12 ชิ้น | ส่วนลด 10% |
2 ลัง | 120 ชิ้น | ส่วนลด 25% |
ซื้อ 24 ขวด ลด 10%
ซื้อ 48 ขวด ลด 25%
( คละสูตร คละขวด กล่อง )
แผนกค้าส่ง
Line @siamorigin
โทร 0996566961 0819102414