น้ำมันนวด MassageOil
การนวดไทยนับเป็นภูมิปัญญาอันล้ำค่าของคนไทยที่มีประวัติและเรื่องราวสืบทอดกันมาช้านาน
การนวดนับมีบทบาทสำคัญในการรักษาโรคตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเชื่อว่าการนวด
มีจุดเริ่มต้นมาจากการช่วยเหลือกันเองภายในครอบครัว
การใช้อุปกรณ์การนวดและน้ำมันที่ใช้ในการนวดเพื่อช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
เพื่อให้การนวดนั้นได้ผลเร็วขึ้นสามารถบรรเทาอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ จะทำให้ร่างกาย
เบาสบายได้มีการพัฒนากันขึ้นมาจนน่าใช้ และไม่เหนียวเหนอะหนะ สามารถซึมเข้าไปในผิวหนังได้เร็วด้วย
ทาน้ำมันนวดให้ทั่วผิวกาย แล้วนวดตามจุดต่างๆ ตามภูมิปัญญาอันล้ำค่า
ที่สืบทอดกันมา ซึ่งมีหลายวิธีจะทำให้ร่างกายเบาสบายและหายปวดเมื่อยตามที่ ต้องการ
สรรพคุณ ของน้ำมันหอมระเหยคุณสมบัติของน้ำมันหอมระเหยของไพล ขมิ้นชัน ขิง
ที่ใช้ในการนวดช่วยให้มีชีวิตชีวาขึ้น
ไพล
ไพล หรือ ว่านไพล ชื่อสามัญ Phlai, Cassumunar ginger, Bengal root
ไพล ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber montanum (J.Koenig) Link ex A.Dietr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Zingiber cassumunar Roxb., Zingiber purpureum Roscoe) จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)
สรรพคุณของไพล
- ดอกไพล สรรพคุณช่วยขับโลหิตและกระจายเลือดเสีย กระจายเลือดที่เป็นลิ่มเป็นก้อน (ดอก)
- ช่วยแก้ธาตุพิการ (ต้นไพล)
- สรรพคุณสมุนไพรไพล ใบช่วยแก้ไข้ (ใบ)
- ช่วยแก้อาเจียน อาการอาเจียนเป็นโลหิต (หัวไพล)
- ช่วยแก้อาการปวดฟัน (หัวไพล)
- ไพลกับสรรพคุณทางยา เหง้าช่วยขับโลหิต (เหง้า)
- ช่วยแก้เลือดกำเดาไหลออกทางจมูก (ราก)
- ช่วยรักษาโรคที่บังเกิดแต่โลหิตออกทางปากและจมูก (เหง้า)
- เหง้าไพล ใช้เป็นยารักษาหอบหืด ด้วยการใช้เหง้าแห้ง 5 ส่วน / ดีปลี 2 ส่วน / พริกไทย 2 ส่วน / กานพลู 1/2 ส่วน / พิมเสน 1/2 ส่วน นำมาบดผสมรวมกัน ใช้ผงยา 1 ช้อนชาชงกับน้ำร้อนแล้วรับประทาน หรือจะปั้นเป็นยาลูกกลอนด้วยการใช้น้ำผึ้ง ขนาดเท่าเม็ดพุทรา แล้วรับประทานครั้งละ 2 ลูก โดยต้องรับประทานติดต่อกันเรื่อย ๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น (เหง้าแห้ง)
- ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องขึ้น ท้องเดิน ช่วยขับลมในลำไส้ ด้วยการใช้เหง้าแห้งนำมาบดเป็นผงแล้วรับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา ด้วยการนำมาชงกับน้ำร้อนและผสมเกลือด้วยเล็กน้อยแล้วนำมาดื่ม (เหง้าแห้ง)
- ช่วยแก้อาการปวดท้อง ท้องเสีย แก้บิด บิดเป็นมูกเลือด ด้วยการใช้เหง้าสดประมาณ 4-5 แว่น นำมาตำให้ละเอียด แล้วคั้นเอาแต่น้ำ เติมเกลือครึ่งช้อนชาแล้วนำมารับประทาน หรือจะฝนกับน้ำปูนใสรับประทานก็ได้เช่นกัน (เหง้าสด)
- ช่วยแก้อาการท้องผูก (เหง้า)
- ช่วยสมานแผลในลำไส้ แก้ลำไส้อักเสบ (เหง้า)
- ช่วยแก้อุจจาระพิการ (ต้นไพล)
- ช่วยขับระดู ประจำเดือนของสตรี ขับเลือดร้ายทั้งหลาย และแก้มุตกิดระดูขาว (หัวไพล, เหง้า)
- ช่วยทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ (เหง้า)
- ช่วยรักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง ด้วยการใช้หัวไพลนำมาฝนแล้วทาบริเวณที่มีอาการฟกช้ำบวมหรือเคล็ดขัดยอก / หรือจะใช้เหง้าสด 1 แง่ง นำมาฝานเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วต้มรวมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ เนื่องจากไพลจะมีน้ำมันหอมระเหย (เหง้าสด) ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง ด้วยการใช้เหง้า 1 เหง้า นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำมาทานวดบริเวณที่มีอาการ / หรือจะนำมาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับเกลือเล็กน้อย นำมาห่อเป็นลูกประคบ แล้วอังไอน้ำให้ความร้อน นำมาใช้ประคบบริเวณที่มีอาการฟกช้ำบวมและบริเวณที่ปวดเมื่อย เช้า-เย็น จนกว่าจะหาย / หรือจะใช้ทำเป็นน้ำมันไพล ด้วยการใช้ไพลหนัก 2 กิโลกรัม นำมาทอดในน้ำมันพืชร้อน ๆ 1 กิโลกรัม ให้ทอดจนเหลืองแล้วเอาไพลออก และใส่กานพลูผงประมาณ 4 ช้อนชา และทอดต่อไปด้วยไฟอ่อน ๆ ประมาณ 10 นาที เสร็จแล้วนำมากรองรอจนน้ำมันอุ่น ๆ และใส่การบูรลงไป 4 ช้อนชา ใส่ภาชนะปิดให้มิดชิด รอจนเย็นแล้วจึงเขย่าการบูรให้ละลาย แล้วนำน้ำมันไพลมาทาถูนวดวันละ 2 ครั้งเวลามีอาการปวด เช้า-เย็น (สูตรของคุณวิบูลย์ เข็มเฉลิม) (เหง้า, หัว)
- ช่วยลดอาการอักเสบ แก้ปวด บวม เส้นตึง เมื่อยขบ (เหง้า)
- ช่วยแก้เมื่อย แก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามร่างกาย (ใบ)
- ช่วยรักษาโรคผิวหนัง (เหง้า)ไพล สรรพคุณของเหง้าช่วยรักษาฝี (เหง้า)
- ช่วยดูดหนอง (เหง้า)
- ช่วยแก้ผดผื่นคัน ด้วยการใช้เหง้านำมาบดทำเป็นผงผสมกับน้ำ หรือจะใช้เหง้าสดนำมาล้างให้สะอาด ฝนแล้วทาบริเวณที่เป็นก็ได้เช่นกัน (เหง้า)
- เหง้าใช้ทาเคลือบแผลเพื่อป้องกันอาการติดเชื้อได้ (เหง้า)
- ช่วยแก้อาการครั่นเนื้อครั่นตัว (ใบ)
- ช่วยรักษาโรคเหน็บชา (เหง้า)
- ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ (เหง้า)
- ใช้เป็นยาสมานแผล ด้วยการใช้เหง้าสด 1 แง่ง นำมาฝานเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วต้มรวมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ เนื่องจากไพลจะมีน้ำมันหอมระเหย (เหง้าสด)
- เหง้าใช้เป็นยาแก้เล็บถอด ด้วยการใช้เหง้าสด 1 แง่ง (ขนาดเท่าหัวแม่มือ) นำมาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับเกลือและการบูร อย่างละครึ่งช้อนชา แล้วนำมาใช้พอกบริเวณที่เป็นหนอง โดยควรเปลี่ยนยาที่ใช้พอกวันละ 1 ครั้ง (เหง้าสด)
- เหง้าไพลสามารถนำมาใช้ต้มกับน้ำอาบหลังคลอดของสตรีได้ (เหง้า)
- เหง้าของไพลมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งจากการทดลองพบว่ามันมีฤทธิ์ช่วยลดอาการอักเสบได้ (เหง้า)
- ไพลมีฤทธิ์ช่วยคล้ายกล้ามเนื้อเรียบ ช่วยลดการบีบตัวของมดลูกและลำไส้ รวมไปถึงกระเพาะอาหารในหนูทดลอง
- ไพลมีฤทธิ์ในการช่วยต้านเชื้อรา เชื้อจุลินทรีย์ และเชื้อแบคทีเรีย
- ไพลมีฤทธิ์ช่วยต้านฮีสตามีนในผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคหอบหืด โดยสามารถช่วยลดขนาดของตุ่มนูนจากการฉีดน้ำยาฮีสตามีนเข้าใต้ผิวหนังได้อย่างมีนัยสำคัญ และยังช่วยทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการหอบเกิดอาการหอบน้อยลง การทำงานของปอดทำงานได้ดีขึ้น
- เหง้าไพลจัดอยู่ในตำรับยา “ยาประสะกานพลู” ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการอาการปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อยเนื่องจากธาตุ
- เหง้าไพลจัดอยู่ในตำรับยา “ยาประสะไพล” ซึ่งมีสรรพคุณช่วยรักษาอาการประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอหรือมาน้อยกว่าปกติ และช่วยขับน้ำคาวปลาในสตรีหลังคลอดบุตร
ว่านไพล ลักษณะและสรรพคุณ เป็นพืชลำต้นใต้ดิน ใบเล็กยาวคล้ายใบขิง หัวมีสีเหลืองอมเขียว
กลิ่นหอมร้อน ต้นงอกงามในฤดูฝน แห้งตายในฤดูหนาว แก้ฟกช้ำ เคล็ดยอก เป็นยาสมานแผลได้ดี
ระงับการรเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ มีสารเมือกเคลือบบาดแผลป้องกันการติดเชื้อ ทำให้แผลหายเร็ว
ไพลทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ลดความเจ็บปวดเฉพาะที่ ลดอาการปวดท้องขณะมีประจำเดือน
แก้ท้องเดิน บิด ลดอาการเต้นเร็วกว่าปกติของหัวใจ ใช้ทาป้องกันยุงและแมลงรบกวนได้ดี
ขิง
ขิง ชื่อสามัญ Ginger (จิน’เจอะ)
ขิง ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Roscoe จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)
ประโยชน์ของขิง
- ขิงจัดว่าเป็นยาอายุวัฒนะชั้นยอด
- มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเป็นจำนวนมาก ช่วยชะลอความแก่และชะลอการเกิดริ้วรอย
- มีส่วนช่วยในการป้องกัน ต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง ต่อต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
- ช่วยลดผลข้างเคียงจากสารเคมีที่ใช้ในการรักษามะเร็ง ดังนั้นควรรับประทานขิงควบคู่ไปกับการรักษามะเร็งจะเป็นผลดี
- ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น และช่วยในการขับเหงื่อ
- ช่วยแก้อาการร้อนใน ด้วยการใช้ลำต้นสด ๆ นำมาทุบให้แหลกประมาณ 1 กำมือ แล้วต้มกับน้ำดื่ม
- ช่วยลดความอ้วน ลดระดับไขมัน คอเลสเตอรอล ด้วยการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากลำไส้ แล้วปล่อยให้ร่างกายกำจัดออกทางอุจจาระ
- ช่วยรักษาอาการปวดศีรษะและไมเกรน ด้วยการรับประทานน้ำขิงบ่อย ๆ
- ช่วยลดความอยากของผู้ติดยาเสพติดลงได้
- แก้ตานขโมย ด้วยการใช้ขิง ใบกะเพรา พริกไทย ไพล มาบดผสมกันแล้วนำมารับประทาน
- ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต ด้วยการนำขิงสดมาฝานต้มกับน้ำดื่ม
- ช่วยบำรุงหัวใจของคุณให้แข็งแรง
- ช่วยบรรเทาอาการของโรคประสาท ซึ่งทำให้จิตใจขุ่นมัว (ดอก)
- ช่วยฟื้นฟูร่างการสำหรับมารดาหลังคลอดบุตร ด้วยการรับประทานไก่ผัดขิง
- มีส่วนช่วยให้เจริญอาหาร (ราก, เหง้า) ด้วยการใช้เหง้าสดประมาณ 1 องคุลีนำมาต้มกับน้ำดื่ม ก็จะได้เป็นยาขมเจริญอาหาร
- ใช้กินเพื่อบำรุงเป็นยาธาตุ บำรุงธาตุไฟ (เหง้า, ดอก)
- ใช้บำรุงน้ำนมของมารดา (ผล)
- ช่วยทำให้นอนหลับได้อย่างสบาย
- การรับประทานขิงจะช่วยทำให้เลือดแข็งตัวเป็นลิ่มเลือดได้ช้าลง
- ใช้แก้ไข้ (ผล) ด้วยการนำขิงสดมาคั้นเป็นน้ำให้ได้ประมาณครึ่งถ้วย แล้วผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วย แล้วนำมาดื่มวันละ 3 ครั้ง จะช่วยบรรเทาอาการได้
- ช่วยแก้หวัด บรรเทาอาการไอ บรรเทาหวัดจับเสมหะ ด้วยการใช้ขิงสดฝนกับน้ำมะนาวใส่เกลือนิดหน่อย
- ไอน้ำหอมระเหยจากน้ำขิงช่วยทำลายไวรัสหวัดในทางเดินหายใจได้
- แก้ลม (ราก)
- ในผู้ป่วยที่มีอาการเมายาสลบหลังผ่าตัด น้ำขิงช่วยแก้เมาได้
- ช่วยแก้อาการเมารถ เมาเรือได้เป็นอย่างดี ด้วยการใช้ขิงสดนำมาตำให้แหลก คั้นเอาเฉพาะน้ำดื่ม (ไม่ต้องดื่มน้ำตาม)
- ช่วยแก้ปัญหาผมร่วง หัวล้าน ด้วยการนำเหง้าสดไปผิงไฟจนอุ่น แล้วนำมาตำให้แหลก นำมาพอกบริเวณที่มีผมร่วง วันละ 2 ครั้งจนอาการดีขึ้น หรืออีกวิธีก็คือคั้นเอาเฉพาะน้ำขิงมาผสมกับน้ำมันมะกอกแล้วนำมาหมักผม นวดให้ทั่วศีรษะประมาณ 30 นาทีก็ช่วยลดปัญหาผมร่วงได้เหมือนกัน แถมยังช่วยให้ผมสวย แข็งแรง มีความนุ่มลื่น ไม่ขาดง่ายอีกด้วย
- ช่วยบำรุงสายตา รักษาโรคเกี่ยวกับตา และใช้แก้อาการตาฟาง (ผล, ใบ)
- ช่วยรักษาอาการตาแฉะ (ดอก)
- ช่วยแก้โรคกำเดา (ใบ)
- ใช้แก้อาการคอแห้ง เจ็บคอ (ผล)
- ใช้รักษาอาการปากคอเปื่อย ท้องผูก (เหง้า,ดอก)
- ช่วยรักษาอาการปวดฟัน ด้วยการนำขิงแก่มาทุบให้ละเอียดคั่วกับน้ำสารส้มจนเกรียม แล้วบดจนเป็นผง จากนั้นนำมาพอกบริเวณฟันที่ปวด
- แก้เสมหะ เสมหะขาวเหลวปริมาณมากมีฟอง (ผล, ราก)
- ช่วยรักษาภาวะน้ำลายมาก อาเจียนเป็นน้ำใส
- ช่วยลดกลิ่นปาก แก้อาการปากเหม็น ด้วยการนำขิงมาคั้นผสมน้ำอุ่นและเกลือเล็กน้อย นำมาอมบ้วนปาก ช่วยฆ่าเชื้อโรคในปากได้อีกด้วย
- ช่วยบำรุงรักษาฟันและป้องกันการเกิดฟันผุ
- ช่วยกำจัดกลิ่นรักแร้ ด้วยการใช้เหง้าขิงแก่นำมาทุบให้แหลก แล้วนำมาคั้นเอาน้ำมาทารักแร้เป็นประจำ จะช่วยกำจัดกลิ่นได้
- ช่วยแก้อาการสะอึก ด้วยการใช้ขิงสดตำจนแหลก คั้นเอาเฉพาะน้ำผสมกับน้ำผึ้งเล็กน้อย คนจนเข้ากันแล้วนำมาดื่ม
- ช่วยรักษาโรคบิด (ผล, ราก, ดอก) ด้วยการใช้ขิงสดประมาณ 75 กรัม ผสมกับน้ำตาลแดง นำมาตำจนเข้ากัน แล้วรับประทาน 3 มื้อต่อวัน
- ช่วยแก้อาการอาเจียน (เหง้า, ผล) ด้วยการนำขิงสดประมาณ 5 กรัมหรือขนาดเท่านิ้วหัวแม่มือ นำมาทุบให้แตกแล้วต้มกับน้ำดื่ม
- ช่วยลดการคลื่นไส้อาเจียนจากการแพ้ท้อง (สำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานบ่อยมากจนเกินไป)
- แก้อาการท้องอืด จุกเสียด แน่นท้อง ขับลมในลำไส้ (ผล, ราก, ใบ) ด้วยการนำขิงแก่มาทุบพอแหลก เทน้ำเดือดลงไปครึ่งแก้ว แล้วปิดฝาตั้งทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีแล้วนำน้ำมาดื่มระหว่างมื้ออาหาร
- ช่วยรักษาอาการปวดในช่วงก่อนหรือหลังประจำเดือน ด้วยการนำขิงแก่ที่แห้งแล้วประมาณ 30 กรัมมาต้มกับน้ำดื่มบ่อย ๆ
- ช่วยในการย่อยอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ดอก)
- ช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการจุกเสียด (เหง้า)
- ช่วยในการขับถ่าย และช่วยในเรื่องของระบบลำไส้ให้ทำงานได้อย่างเป็นปกติ
- ช่วยฆ่าพยาธิ พยาธิกลมจุกลำไส้ (ใบ) ใช้น้ำขิงผสมกับน้ำผึ้งแล้วนำมาดื่ม
- ช่วยแก้อาการขัดปัสสาวะ (ดอก, ใบ)
- ช่วยรักษาปัสสาวะรดที่นอนในผู้ป่วยที่มีภาวะหยางพร่อง มีความเย็นในร่างกายเป็นเหตุ
- ช่วยรักษาโรคนิ่ว (ใบ, ดอก)
- ช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ใบ)
- ช่วยรักษาอาการปวดข้อตามร่างกายด้วยการรับประทานขิงสดเป็นประจำ
- มีฤทธิ์ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย
- ใช้เป็นยาแก้คัน ด้วยการนำแก่นของขิงฝนทำเป็นยา (แก่น)
- แก้ปัญหาหนังที่มือลอกเป็นขุย ด้วยการใช้เหง้าสดมาหั่นเป็นแผ่น แล้วนำมาแช่เหล้า 1 ถ้วยชา ทิ้งไว้ 1 วัน แล้วนำแผ่นขิงมาถูบริเวณดังกล่าววันละ 2 ครั้ง
- ช่วยรักษาแผลเริมบริเวณหลัง ด้วยการใช้เหง้า 1 หัว นำมาเผาผิวนอกจนเป็นถ่าน คอยปาดถ่านที่ผิวนอกออกไปเรื่อย ๆ แล้วนำผงที่ได้มาผสมกับน้ำดีหมูนำมาทาบริเวณที่เป็นแผล
- หากถูกแมงมุมกัด ใช้ขิงสดฝานบาง ๆ นำมาวางทับบริเวณที่ถูกกัดจะช่วยบรรเทาอาการได้
- ช่วยรักษาอาการมือเท้าเย็น กลัวหนาว เย็นท้อง เป็นต้น
- ช่วยป้องกันการแพ้อาหารทะเลจนเกิดผื่นคัน ลมพิษ หรืออาหารช็อก
- ช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการนำขิงสดมาตำให้แหลก แล้วนำกากมาพอกบริเวณแผล เพื่อป้องกันการอักเสบและการเกิดหนอง
- ในขิงมีสารที่สามารถใช้กันบูดกันหืนในน้ำมันได้
- ในด้านการประกอบอาหารนั้น ขิงสามารถช่วยเพิ่มรสชาติอาหารได้เป็นอย่างดี และสามารถช่วยดับกลิ่นคาวของอาหารได้ดีอีกด้วย
- ในด้านความงามนั้นมีผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้บำรุงผิวที่มีส่วนผสมของขิงอีกด้วย
- ช่วยให้ผิวพรรณเรียบเนียนยิ่งขึ้น ด้วยการนำขิงสดมาขูดเป็นฝอยแล้วนำมานวดบริเวณต้นขา ก้น หรือบริเวณที่มีเซลลูไลต์จะช่วยลดความขรุขระของผิวได้อีกด้วย
- ผลิตภัณฑ์จากขิงนั้นนำมาแปรรูปได้หลายอย่าง เช่น บัวลอยน้ำขิง ขิงแช่อิ่ม ขิงเชื่อม ขิงกระป๋อง ขิงแคปซูล น้ำขิงมะนาว เป็นต้น
ขิงสด ลักษณะและสรรพคุณ เป็นพืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดิน หัวใต้ดิน เรียกว่า เหง้า
มีกลิ่นหอมและรสเผ็ดร้อนแก้ลม เสียดแทงหน้าอก แก้นอนไม่หลับ คลื่นเหียน อาเจียน
แก้ไข้จับสั่น ช่วยขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นยากระตุ้น มีฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์คอเรสเตอรอล ลดความดันโลหิต
มีฤทธิ์ต่อระบบทางเดินหายใจ มีฤทธิ์ยับยั้งการจับตัวของเกร็ดเลือด มีฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบ
ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร แก้ไอ ป้องกัน การบำบัดอาการปวดศีรษะแบบไมเกรน บรรเทาอาการเกร็ง
ขมิ้นชัน
ขมิ้น หรือ ขมิ้นชัน ชื่อสามัญ Turmeric
ขมิ้น ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa L. จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)
สรรพคุณของขมิ้น
- ขมิ้นมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งช่วยในการชะลอวัยและชะลอการเกิดริ้วรอย
- ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
- ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนังมีสุขภาพดีแข็งแรง
- ขมิ้นชันอาจมีบทบาทช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง เช่น โรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งปากมดลูก
- ขมิ้นสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายได้
- ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
- ช่วยบรรเทาอาการของโรคเบาหวาน
- มีส่วนช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
- ช่วยลดอาการของโรคเกาต์
- ช่วยขับน้ำนมของมารดาหลังคลอดบุตร
- ช่วยรักษาระบบทางเดินหายใจที่มีอาการผิดปกติ
- ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันโรคความจำเสื่อม
- อาจมีส่วนช่วยในการรักษาโรครูมาตอยด์ (ยังไม่ได้รับการยืนยัน)
- ช่วยลดการอักเสบ
- ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ
- ช่วยรักษาอาการแพ้และไข้หวัด
- ช่วยบรรเทาอาการไอ
- ช่วยรักษาอาการภูมิแพ้ หายใจไม่สะดวกให้มีอาการดีขึ้น
- ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด
- ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในเม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยธาลัสซีเมียฮีโมโกบิลอี
- ช่วยรักษาแผลที่ปาก
- ช่วยบำรุงปอดให้มีสุขภาพดีและแข็งแรง
- น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง
- ช่วยรักษาอาการท้องเสีย อุจจาระร่วง โดยนำผงขมิ้นชันผสมน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอนแล้วนำมารับประทานครั้งละ 3 เม็ด 3 เวลา
- ช่วยแก้อาการจุดเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ
- ช่วยรักษาโรคลำไส้อักเสบ
- ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้
- ช่วยรักษาอาการลำไส้ใหญ่บวม
- ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร
- ช่วยในการขับลม
- ช่วยบรรเทาอาการนิ่วในถุงน้ำดี
- มีฤทธิ์ในการช่วยขับน้ำดี
- ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร และทำความสะอาดลำไส้
- ช่วยบำรุงตับ ป้องกันตับอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ และป้องกันตับจากการถูกทำลายของยาพาราเซตามอล
- ช่วยบำรุงหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวาร
- ช่วยแก้อาการตกเลือด ด้วยการนำขมิ้นสดมาตำให้ละเอียด แล้วคั้นเอาน้ำมาผสมกับน้ำปูนใสแล้วรับประทาน
- ช่วยแก้อาการตกขาว
- ช่วยรักษาอาการปวดหรืออักเสบเนื่องจากไขข้ออักเสบ
- ช่วยแก้อาการน้ำเหลืองเสีย
- ช่วยแก้ผื่นคันตามร่างกาย
- ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคัน
- ช่วยรักษากลาก เกลื้อน ด้วยการใช้ผงขมิ้นผสมกับน้ำ นำมาทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนทุกวัน วันละ 2 ครั้ง
- ช่วยรักษาโรคผิวหนังพุพอง ตุ่มหนองให้หายเร็วยิ่งขึ้น
- ช่วยรักษาแผลจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ ด้วยการนำขมิ้นมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วตำจนละเอียด คั้นเอาแต่น้ำมาทาบริเวณดังกล่าว
- มีฤทธิ์ในการต่อต้านและฆ่าเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง และต่อต้านยีสต์ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ
- ช่วยต่อต้านปรสิตหรือเชื้ออะมีบาที่เป็นต้นเหตุของโรคบิดได้
- ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส เช่น แบคทีเรียที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคท้องเสีย แบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง เป็นต้น
- มีฤทธิ์ในการต่อต้านการกลายพันธุ์ ต้านสารก่อมะเร็งที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคที่เกิดจากการเสื่อมของร่างกาย และโรคเบาหวาน
- ช่วยสมานแผลตามร่างกายให้หายเร็วยิ่งขึ้น ด้วยการนำผงขมิ้นมาผสมกับน้ำแล้วทาลงบนบาดแผล และยังช่วยให้บาดแผลไม่ให้ติดเชื้อของกระต่ายและหนูขาวได้ และสามารถเร่งให้แผลที่ติดเชื้อหายได้
- ขมิ้นยังมีสรรพคุณช่วยในการป้องกันการงอกของขนอีกด้วย โดยผู้หญิงชาวอินเดียมักนำขมิ้นมาทาผิวเพื่อป้องกันไม่ให้ขนงอก
- ขมิ้นชันขัดผิว ใช้ทำทรีตเมนต์พอกผิวขัดผิวด้วยขมิ้น ช่วยให้ผิวพรรณนุ่มนวล ขาวผ่องใส เต่งตึง ด้วยการนำขมิ้นสดมาล้างน้ำให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปปั่นรวมกับดินสอพอง 2-3 เม็ด แล้วผสมกับมะนาว 1 ลูก ปั่นจนเข้ากัน นำมาพอกหน้าหรือผิวทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
- ขมิ้นเป็นส่วนประกอบของทรีตเม้นต์รักษาสิวเสี้ยน สิวผด สิวอุดตัน
- ขมิ้นเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งในเครื่องสำอางบำรุงผิวต่าง ๆ
- นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืชได้อีกด้วย
ขมิ้นชัน ลักษณะและสรรพคุณเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน เนื้อในสีเหลืองส้มถึงสีแสดจัด
มีกลิ่นเฉพาะตัว มีรสฝาด หวาน สารเคอร์คิวมอนอยด์ ประกอบด้วย เคอร์คิวมอนและอนุพันธุ์ของสารนี้
มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รักษาแผลฝี หนอง แก้อาการผื่นคันตามผิวหนัง
แมลงสัตว์กัดต่อย อักเสบ รักษาแผลสด แผลพุพอง ฝี หนอง รักษาผิวและบำรุงผิว
ช่วยคลายกล้ามเนื้อให้เรียบ ขับลม แก้อาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการท้องร่วง บิด
อาหารไม่ย่อย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้ ช่วยลดอาการฟกช้ำ บวม สมานแผลสด
ผสมยานวด คลายเส้น แก้เคล็ด ขัดยอก แก้น้ำกัดเท้า แก้ชันตุ แก้กลากเกลื้อน
น้ำมันนวดสมุนไพร มี 3 สูตร
1. สูตรว่านไพล
2. สูตรขมิ้นชัน
3. สูตรขิงสด
ขนาด 1,000 ml 2,900 Baht
ขนาด 50 ml 230 Baht
1 | 3 ขวด | ส่วนลด 10% |
2 | 6 ขวด | ส่วนลด 15% |
3 | 12 ขวด | ส่วนลด 20% |
4 | 24 ขวด | ส่วนลด 25% |
1 | 6 ขวด | ส่วนลด 10% |
2 | 12 ขวด | ส่วนลด 15% |
3 | 24 ขวด | ส่วนลด 20% |
4 | 36 ขวด | ส่วนลด 25% |
แผนกค้าส่ง
Line @siamorigin
โทร 0996566961 0819102414